วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

รับมือ 5 โรคฤดูหนาว


ฤดูหนาวอาจฟังดูเย็นสบาย แต่ความจริงก็คือยังมีเชื้อโรคที่อาจเข้ามาทำลายสุขภาพของเรา โดยเฉพาะปอดบวม หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส และท้องร่วงที่พบได้บ่อย แถมยังมีศัตรูตลอดกาล อย่าง "หวัด" เข้ามาอีกด้วย มาทำความรู้จักกับวิธีป้องกันก่อนที่หนาวนี้จะทำร้ายเราถึงขั้วหัวใจ
กรมอุตุนิยมวิทยาเผยว่า ปีนี้เมืองไทยเราจะหนาวที่สุดในรอบ 30 ปี แต่ภัยที่มากับความหนาวไม่ใช่แค่ลมเย็นยะเยือก แต่ยังรวมถึงเชื้อโรคที่กระจายตัวพร้อม ๆ กับลมหนาวอีกด้วย และนี่คือโรคที่กรมควบคุมโรคแนะนำให้คนไทยดูแลตัวเองดังนี้
1.ปอดบวมอีกหนึ่งโรคที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในปี 2552 อยู่ที่มากกว่า 239.000 คน ทำให้คนไทยเสียชีวิตถึง 14,542 คน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2543-2552) และนับเป็นโรคที่อันตรายโดยเฉพาะกับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วพบเด็กป่วยมากกว่า 30,000 คน เสียชีวิต 17 คน
โรคปอดบวมนั้นอาจเกิดจากอาการแทรกซ้อนของหวัด หรืออาจเป็นการติดเชื้อปอดบวมโดยตรง มีระยะเวลาฟักตัว 1-3 วัน หากมีไข้สูง ไอมาก หายใจหอบ หรือหายใจแรง ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลด่วน
วิธีป้องกัน คล้ายกับโรคหวัดคือล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแออัด พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย และไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วย
2.หัดความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งก็คือเราอาจคิดกันว่า "เด็ก ๆ ต้องออกหัดทุกคน" ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย โรคหัดเกิดจากไวรัสหัดซึ่งติดต่อกันง่ายมาก โดยผ่านการไอ จามรดกัน โดยตรง แม้ว่าจะพบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก แต่กับผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นหัดมาก่อน หรือไม่ได้ฉีดวัคซีนก็อาจเป็นหัดได้
โรคหัดมีระยะฟักตัว 8-12 วัน หลังจากนั้น จะมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ผื่นขึ้นกระจายไปทั่ว และจางหายเองใน 14 วัน บางรายอาจมีปอดบวม ท้องร่วง ช่องหูอักเสบ หรือสมออักเสบร่วมด้วย จนทำให้เสียชีวิตได้
วิธีป้องกัน ฉีดวัคซีน เด็กควรได้รับการฉีดวัคซีนหัด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ตอนอายุ 9-12 เดือน ส่วนครั้งที่ 2 อายุ 6-7 ขวบ

3.หัดเยอรมันเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่แพร่เชื้อได้ง่ายมากผ่านการสัมผัสเสมหะน้ำมูก หรือน้ำลายของผู้ติดเชื้อ หากสตรีมีครรภ์ติดเชื้อหัดเยอรมันภายใน 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ มีโอกาสสูงที่ทารกจะมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด อย่างเช่น หูหนวก ปัญญาอ่อน
อาการของหัดเยอรมันอาจทำให้มีไข้ และออกผื่นหัด ผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอื่น บางรายมีโรคแทรกซ้อน อย่างเช่น ข้ออักเสบ สมองอักเสบ ในเด็กเล็กจะมีอาการเล็กน้อย แต่สำหรับผู้ใหญ่แล้วอาการอาจจะมีอยู่ ประมาณ 1-5 วัน จึงควรหยุดงานประมาณ หนึ่งสัปดาห์ด้วย
วิธีป้องกัน สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หัดเยอรมัน อาจขอฉีดวัคซีนรวม MMR ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน และคางทูม
4.อีสุกอีใสติดต่อจากการสัมผัสโดยตรง หรือการหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก และน้ำลายเข้าไปเช่นเดียวกับหัด หรือจากการสัมผัสตุ่มพองใสบนผิวหนังของผู้ป่วย และการใช้ภาชนะ หรือของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย
อาการเริ่มต้นจากมีไข้ต่ำ ๆ ต่อมาจะมีผื่นขึ้นที่หนังศีรษะ ใบหน้า และตามลำตัว ทีแรกจะเป็นตุ่มแดง ๆ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นตุ่มพองใสในวันที่ 2-3 นับจากวันที่เริ่มมีไข้ หลังจากนั้นตุ่มจะเป็นหนอง แล้วเริ่มแห้งตกสะเก็ด โดยทั่วไปจะไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่บางคนอาจมีอาการทางสมองและปอดบวมได้
วิธีป้องกัน เหมือนกับไข้หวัดและหัด คือไม่เข้าใกล้ผู้ป่วย
5.ท้องร่วงอาการท้องร่วงในฤดูหนาวมักเกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภัยน้ำท่วมในปีนี้ โรคท้องร่วงจึงเป็นอีกภัยหนึ่งสำหรับคนทุกเพศทุกวัย โดยเกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อผ่านการดื่มน้ำ หรือกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน นอกจากนี้ อาจติดต่อผ่านทางน้ำมูกหรือน้ำลาย ไม่เฉพาะทางอาหารเท่านั้น ผู้ป่วยจะอุจจาระเหลวหรือถึงชั้นเป็นน้ำบ่อยครั้ง บางรายอาจคลื่นเหียนอาเจียน มีไข้ขึ้น มีเลือด เมือก หรืออาหารที่ไม่ย่อยปนออกมากับอุจจาระ สำหรับคนที่ท้องร่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือถ่ายเป็นน้ำติดต่อกันสามครั้ง แล้วยังไม่ได้ดื่มน้ำเข้าไปทดแทน อาจมีอาการขาดน้ำปรากฏร่วมด้วย อย่างเช่น ปัสสาวะเป็นสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หัวใจเต้นเร็วและถี่ ปวดศีรษะ ผิวแห้ง มึนงง ในกรณีนี้ควรไปพบแพทย์ด่วน
Credit: Lisa Magazine

สอบถามเพิ่มเติมที่ร้านขายยา
 — ที่ ร้านยา บางบอน 5 เภสัช

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

โรคเหา วิธีการรักษา และสาเหตุของการแพร่เชื้อ

โรคเหาที่หนังศีรษะ (Pediculosis capitis) พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน (เพราะเด็กนักเรียนจะวิ่งเล่นใกล้ชิดกันมาก) โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงและคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด บางคนไม่มีอาการมากเท่าใด แต่อาจสร้างความรำคาญได้
สาเหตุของการเกิด: เชื้อโรคเหา- เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บางคนไม่มีอาการเท่าใด แต่จะสร้างความรำคาญใจได้
 
พฤติกรรมของเหา: เป็นการติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact) เช่น การใช้หวี แปรง ร่วมกัน การใช้หมวก ร่วมกัน การใช้หมอน ที่นอนร่วมกัน จากศีรษะคนหนึ่งไปที่ศีรษะอีกคนหนึ่งเพราะฉะนั้นจึงมักพบระบาดในโรงเรียน ได้บ่อย เพราะเด็กนักเรียนจะวิ่งเล่นใกล้ชิดกันมาก

ชนิดของเหา:

 
เหาคนมี 3 ชนิด ได้แก่

เหาหัว - อาศัยอยู่บนศีรษะ ดูดเลือดจากศีรษะ และทำให้คัน เกิดการอักเสบ เป็นแผลติดเชื้อ 
เหาตัว - อาศัยอยู่ตามขนบริเวณลำตัวและตะเข็บเสื้อผ้า นอกจากดูดเลือดและทำให้คันแล้ว ยังเป็นตัวการนำโรคหลายชนิด เช่น epidemic typhus, trench fever, relapsing fever 
โลน - อาศัยอยู่ตามขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดอาการคันรุนแรงมาก
 
อาการของการเกิดโรคเหา : จะมีอาการคันที่บริเวณด้านหลังและด้านตรงศีรษะ ถ้าเกามากเป็นหนอง สะเก็ดแห้งกรัง ได้ บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณท้ายทอย และข้างคอโตได้ ในทางตรงกันข้าม บางคนอาจจะไม่มีอาการใดมาก ไม่คันมาก

ตำแหน่งที่อยู่ของเหาพบบ่อย :
 เหาจะพบบ่อยที่ศีรษะด้านท้ายทอย หลังหู อาจลามมาที่คิ้ว คอ ได้ แต่พบน้อย

การตรวจร่างกาย :
 ตัวเหาบนศีรษะ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจใช้แว่นขยายช่วยส่องดู ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีตัวเหาบนศีรษะน้อยกว่า 10 ตัว น้ำลายของตัวเหาจะมีสารซึ่งระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด

วิธีการรักษาเหา :
-การโกนผม จะช่วยได้มาก และสะดวกดี ไม่สิ้นเปลือง แต่เด็ก จะอายเพื่อนฝูง
-การใช้หวีเสนียด คือ หวีซึ่งมีซี่ของหวีถี่มากใช้สางผมทำให้ทั้ง ตัวเหาและไข่เหา หลุดติดกับหวีออกมาได้
-การใช้ยาฆ่าเหา ชื่อทางการค้าว่า จาคูติน (Jacutin) ใช้ทา ศีรษะ ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ล้างออกใช้ทาติดต่อกัน 3 วัน
-การใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเกิดขึ้น
-ยากินกลุ่มแอนติฮีสตามีน ใช้กินเพื่อระงับอาการคัน

ยาที่เกี่ยวข้อง :

ยาที่ใช้บ่อย Malathion, Lindane, Benzyl alcohol lotion, gamma benzene hexachloride

สมุนไพรรักษาโรคเหา :

ขนานที่ 1 ใช้น้ำส้มสายชูชะโลมศีรษะ เอาผ้าโพกหว้สักครึ่งชั่วโมงค่อยสระผม แล้วเอาหวีถี่ ๆ สางเอาตัวและไข่เหาออก หลังจากนั้น 2 อาทิตย์ทำอีกครั้งหนึ่ง และหลังจากนั้นอีก 2 อาทิตย์ จึงทำอีกครั้งหนึ่ง น้ำส้มสายชูทำให้ไข่เหาร่วงหลุดไปได้ (ให้ใช้น้ำส้มสายชูแท้เท่านั้น)

ขนานที่ 2 เอาผลมะกรูดใบใหญ่ที่แก่จัดน้ำมาก นำไปเผาไฟหรือย่างไฟให้สุก ทิ้งไว้ให้เย็น เอามาคลึงให้มีน้ำมาก ๆ ผ่าครึ่งบีบน้ำลงบนหัวขยี้ให้ทั่ว ใช้หวีถี่ ๆ สางเส้นผม จะมีไข่เหาติดออกมา ทำอาทิตย์ละครั้ง ทำทั้งหมด 3 ครั้ง

ขนานที่ 3 เอาใบน้อยหน่ามา 5-8 ใบ โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำและทาผมให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สักครึ่งชั่วโมง จึงล้างน้ำออก ฟอกด้วยยาสระผมอีกครั้งหนึ่ง แล้วใช้หวีถี่ ๆ สางเอาตัวและไข่เหาออก
ข้อควรระวัง อย่าให้น้ำน้อยหน่าเข้าตา เพราะจะแสบตามาก

ขนานที่ 4 เอาใบสะเดาแก่ ๆ สัก 2-3 กำมือ โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำพอเหลวนิดหน่อย ทาผมให้ทั่วปล่อยให้แห้ง แล้วค่อยสระผมด้วยแชมพู
 
ขนานที่ 5 เอาลูกบวบขมแกะเปลือกออก เอาน้ำในลูกบวบขมทาผมให้ทั่ว ทิ้งไว้สัก 2-3 นาที

ขนานที่ 6 ใช้ผลมะตูมสุกมาผ่า เอายางจากผลมะตูมสุกทาผม แล้วหวีให้ทั่ว ปล่อยไว้ให้แห้ง เหาจะตายหมดแล้ว ล้างน้ำ ต่อจากนั้นจึงหวีออก

แหล่งข้อมูล: http://tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=520 

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

เอาท์คัม แชมพูกำจัดเหา 40 ml/Outcome Lice Control Herbal Shampoo 40 ml

ผสมสารสกัดจากธรรมชาติ รากหนอนตายหยาก ฆ่าเหา กำจัดที่ต้นเหตุ

สอบถามเพิ่มเติมที่ร้านขายยา
 — ที่ ร้านขายยาบางบอน5เภสัช

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Hashi สิ้นค้าแนะนำช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง

แนะนำสินค้า....ช่วงอากาศเปลี่ยนแปลง

+++Hashi Plus (Nasal Rinser) ฮาชชิ พลัส (ชุดอุปกรณ์ล้างจมูก) 1 ชุด++++
ประกอบด้วย
*ขวดฮาชชิ พลัส จำนวน 1 ขวด
เกลือฮาชชิสูตรอ่อนโยนขนาด1.7 กรัม จำนวน 15 ซอง
+++Hashi Salt Refill สูตรธรรมดา+++
ประกอบด้วย เกลือฮาชชิสูตรธรรมดาขนาด 2.8 กรัม จำนวน 30 ซอง
===>ผงเกลือฮาชชิ (Hashi Salt) เป็นส่วนผสมของโซเดี่ยมคลอไรด์ และโซเดียม ไบคาร์บอเนต ในสัดส่วนที่ เมื่อผสมกับน้ำสะอาดเต็มขวดฮาชชิ จะมีความเข้มข้นใกล้ เคียงน้ำในร่างกาย (isotonic) และมีค่า pH ที่ไม่ทำให้เกิดการแสบหรือระคายเคือง นอกจากนั้น ฮาชชิยังเลือใช้วัตถุดิบมาตรฐานเดียวกับที่ใช้ผลิตยา (phamaceutical grade) และ ไม่ใส่สารที่อาจทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง
+ ไม่ใส่สารกันชื้น และสารกันการเกาะตัวเป็นก้อน ( anti-caking agent)
+ไม่ใส่สารปรุงแต่งกลิ่นและสี
+ไม่ใส่ไอโอดีนที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้
สอบถามเพิ่มเติมที่ร้านขายยา
 — ที่ ร้านขายยาบางบอน5เภสัช

วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกเพจ ร้านยาบางบอน 5 เภสัช

ร้านขายยาแผนปัจุบัน
จำหน่าย ยา อาหารเสริม อุปกรณ์ทางการแพทย์
ให้คำปรึกษา ข้อมูลยา ด้านการใช้ยาและการดูแลสุขภาพ
โดยเภสัชกร
รายละเอียด
- การคัดกรองโรค( Screening )
-โครงการแจกถุงยางอนามัย
-โครงการ ดูแลอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น 16 อาการ สปสช
- การบริหารจัดการด้านยา ( Medical Therapy Management /MTM ) ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยผู้ป่วยมาที่ร้านยาฯ
- การบริหารจัดการด้านยาที่บ้านผู้ป่วย หรือ การเยี่ยมบ้าน( Home Visit)
- การเติมยาตามใบสั่งแพทย์ ( Refill )
-โครงการรับยาใกล้บ้าน

ที่ตั้ง: 1373 ถนนเอกชัย แขวง บางบอน เขต บางบอน กทม 10150
โทร/แฟกซ์ 02-8924160