วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โรคนิ้วล็อก

นิ้วล็อกเกิดขึ้นได้ แก้ไขได้ ป้องกันได้

                    นิ้วล็อก หมายถึง อาการที่งอข้อนิ้วมือ  แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก  เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ   เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

ชื่อภาษาไทย นิ้วล็อก, ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ
ชื่อภาษาอังกฤษ Trigger finger, Digital flexer  tenosynvitis,  Stenosing tenosynvits
สาเหตุ
     เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณโคนนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น และติดขัดในการเคลื่อนไหวขณะเหยียดนิ้วมือ เมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้ม เวลาเหยียดนิ้วมือกลับไป  ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกอยู่ในท่างอ ต้องออกแรงช่วยใน การเหยียด จึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้

     การอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือมักเกิดจากแรงกดหรือเสียดสีของเส้นเอ็นซ้ำซาก หรือใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่น การใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน ทำสวน ขุดดิน  เล่นกีฬา เล่นดนตรี  เป็นต้น โรคนี้จึงพบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน เลขานุการที่พิมพ์ดีดบ่อยๆ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา (เช่น กอล์ฟ เทนนิส)  หรือเล่นดนตรี (เช่น ไวโอลิน) นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์  เบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์

อาการ
ระยะแรกมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักหนึ่งก็จะกำมือได้ดีขึ้น บางคนจะสังเกตว่าเวลางอแล้วเหยียดนิ้วมือจะได้ยินเสียงดังกิ๊ก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน นิ้วที่เป็นบ่อยได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วนาง อาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ และอาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้ง ๒ ข้างก็ได้ อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า

การแยกโรค
                อาการนิ้วงอ เหยียดขึ้นไม่ได้ อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เส้นเอ็นนิ้วมือฉีกขาดจากการบาดเจ็บ (ซึ่งมักเกิดขึ้นฉับพลันหลังได้รับบาดเจ็บ) การดึงรั้งของพังผืด  (เช่น ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่นิ้วมือ) ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (เช่น  Dupuytren's contracture) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม  ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข
    

การวินิจฉัย
                 แพทย์มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดงเป็นหลัก และการตรวจร่างกายอาจตรวจพบว่าเมื่อใช้มือกดตรงโคนนิ้วมือ ตรงปุ่มกระดูกจะรู้สึกเจ็บ และบางคนอาจคลำได้ปุ่มเส้นเอ็นที่อักเสบ

การดูแลตนเอง
หากมีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วมือแล้ว เหยียดนิ้วมีเสียงดังกิ๊ก หรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้น เองไม่ได้ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง และควรปฏิบัติดังนี้
  • ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อกเล่น  อาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้
  • ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
  • เมื่อต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ  ตะหลิวผัดกับข้าว ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง

การรักษา
แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค ในระยะแรก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์  เพื่อบรรเทาปวดและลดการอักเสบ การทำกายภาพ- บำบัด หรือฉีดยาสตีรอยด์เข้าไปที่เส้นเอ็นที่อักเสบ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือสะกิดส่วนของพังผืดที่หนาตัวออกไป (โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด จะมีแผลเป็นรูเล็กๆ ตรงตำแหน่งที่เจาะ) ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไข

ภาวะแทรกซ้อน
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด  นอกจากทำให้มีอาการเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด

การดำเนินโรค
ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นเรื้อรัง  และข้อฝืดมากขึ้น
ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะหายได้

การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการใช้มือทำงานที่มีลักษณะทำให้เกิดแรงกดหรือเสียดสีกับเส้นเอ็นแบบซ้ำซาก
·         การหิ้วของหนักๆ เช่น ถุงหนักๆ  ถังแก๊ส  ถังน้ำ  กระเป๋า (ควรใช้รถเข็นลาก  หรือใส่ถุงมือ)
·         การซักผ้า  บิดผ้า (ควรใช้เครื่องซักผ้าแทน)
·         เวลากำหรือจับอุปกรณ์ต่างๆ ควรใส่ถุงมือลดแรงกดหรือเสียดสี เช่น ใส่ถุงมือเวลาจับไม้ตีกอล์ฟ  กรรไกรตัดกิ่งไม้ มีดตัดต้นไม่หรือดายหญ้า

ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อย  โดยเฉพาะในผู้ที่ทำงานที่ต้องหยิบจับสิ่งของหรืออุปกรณ์อย่างต่อเนื่องนานๆ  หรือใช้มือหิ้วของหนักๆ 

ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 344-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 344
เดือน/ปี: ธันวาคม 2550
คอลัมน์: สารานุกรมทันโรค
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
เข้าถึงที่ http://www.doctor.or.th/article/detail/1133 โพสโดย somsak เมื่อ 1 ธันวาคม 2550 00:00 บทความสุขภาพน่ารู้ นิตสารออนไลน์ หมอชาวบ้าน    

นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ


สอบถามเพิ่มเติม

อีเมล์ Bangbpharma@gmail.com

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

"1 นาที สูงขึ้น 1 เซนติเมตร" เทคนิคดีๆ โดยแพทย์โรคกระดูกญี่ปุ่น

'1 นาที สูงขึ้น 1 เซนติเมตร' เทคนิคดีๆ จากแพทย์โรคกระดูกญี่ปุ่น

        ข่าวดีสำหรับคนที่คิดว่าตัวเอง 'เตี้ย' หรือใครที่ต้องการเพิ่มความสูง หากคุณคิดว่าวันนี้สูงไม่ทันแล้ว  ขอบอกว่ายังไม่สายจนเกินไป  สำหรับน้องๆ ที่ยังอยู่ในวัยเจริญเติบโต (สำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 25 ปี) ก็คงไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่จะทำให้คุณสูงขึ้น หรือผู้ที่อยู่ในวัยที่หยุดการเจริญเติบโตแล้ว เราก็มีเคล็ดลับดีๆ ที่เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัยที่อยากจะเพิ่มความสูงมาฝาก

         วิธีทําให้สูง วิธีเพิ่มความสูง
 เรารวมปัจจัยที่จะทำให้สูง สาเหตุ และวิธีที่จะสามารถเอาชนะพันธุกรรมมาให้คุณ นำไปใช้ ซึ่งสามารถสูงขึ้นได้อีกมากอย่างแน่นอน สำหรับวัยเจริญเติบโต และ เรารวมความรู้ด้่านต่างๆ เกี่ยวกับความสูง เช่น พันธุกรรม อาหารเพิ่มความสูง กีฬาที่ทำให้สูงและเตี้ย และฮอโมนที่ทำให้สูง

วิธีทำให้สูง มี 3 วิธีคือ
1. วิธีทำให้สูงสำหรับวัยเจริญเติบโต (สำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 25 ปี)
2. วิธีทำให้สูงสำหรับวัยหยุดเจริญเติบโต (วิธีการผ่าตัด)
3. วิธีทำให้สูงสำหรับทุกวัย (1 นาที สูงเพิ่มขึ้น 1 เซ็นติเมตร) เทคนิคจากแพทย์โรคกระดูกญี่ปุ่น เห็นผลจริง



วิธีทำให้สูงสำหรับวัยเจริญเติบโต (สำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 25 ปี)

        ข่าวดี พันธุกรรม ไม่ได้กำหนดให้คุณเตี้ยหรือสูงเสมอไป การที่คุณจะสูงหรือเตี้ย จะประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง

ปัจจัยที่ เกี่ยวกับความสูง วิธีทำให้สูง มีดังนี้

1. พันธุกรรม หรือ กรรมพันธุ์ เป็นสิ่งที่รับถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ว่ากันว่า ถ้าพ่อกับแม่มีทั้งยีนเตี้ยและสูง ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาศเตี้ย 25 เปอร์เซ็น แต่ถ้าพ่อกับแม่เตี้ยทั้งคู่ก้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ลูกไม่สูงอย่างที่ต้องการ แต่ว่า ไม่ต้องกังวลไป สำหรับ พันธุกรรม ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่สามารถเอาชนะพันธุกรรมได้ ถึงไม่สูงมาก แต่คุณจะไม่เตี้ยอย่างแน่นอน

2. อาหารที่ทำให้สูง โภชนาการ คือปัจจัยสำคัญมาก อีกข้อหนึ่ง ที่คุณต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และยาวนาน ถ้าคุณอยากสูง หุ่นดี
เบสิค คือ คุณควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรเน้น อาหารเหล่านี้ ได้แก่

  • อาหารที่ช่วยเพิ่มความสูงอันดับแรกๆ คือ นม
    ดื่มนมวันละ 2 แก้ว หลังอาหารเช้า เพราะนมวัวไม่เพียงอุดมไปด้วย แคลเซียม(ช่วยสร้างกระดูก และมวลกระดูก) และสารอาหารต่างๆ เท่านั้น แต่ยังมีสารอาหารบางอย่างที่ทำให้สูงขึ้น เป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างมากสำหรับคนที่ต้องการสูงขึ้น 
  • งาดำ มีประโยชน์มากสำหรับคนต้องการที่จะสูง เพราะ
    1. งามีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ โดยเฉพาะแคลเซียมที่มีมากกว่านมวัวถึง 6 เท่า มีธาตุเหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และทองแดง มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง ทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมก้า 6 นอกจากนี้ ยังมีกรดไขมันไลโนเลอิค ที่ช่วยทำให้ผมดกดำ บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น

    2. ช่วยให้นอนหลับลึก(ทำให้หลั่งฮอร์โมนความสูงออกมามาก) เพราะมากด้วยวิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่งดีต่อระบบประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ร่างกายกระฉับกระเฉง พร้อมกันนั้นยังมีสารบำรุงประสาทด้วย และวิตามินอีเป็นตัวแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยต้านมะเร็ง  จะช่วยปรับระบบประสาทและระดับฮอร์โมน ให้เข้าสู่สภาวะสมดุล ช่วยคลายเครียดทำให้จิตใจสงบ 
       และอาหารที่มีแร่ธาตุมีผลต่อการจริญเติบโตของกระดูกนอกจากแคลเซียมแล้ว มีการทดลองบ่งชี้ว่า ยังมีแร่ธาตุอีก 6 ชนิด ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและการสร้างกระดูกให้แข็งแรงในช่วงวัยรุ่น
  1. ทองแดง   จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกระดูก
  2. แมงกานีส   มีบทบาทในขบวนการซ่อมแซมกระดูก
  3. แมกนีเซียม   จำเป็นในการทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง
  4. โบรอน   ช่วยควบคุมการใช้ประโยชน์จากแคลเซียมของร่างกาย
  5. วิตามินดี   มีหน้าที่ในการช่วยดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เข้าสู่ร่างกาย
  6. สังกะสี   จำเป็นสำหรับการพัฒนาของกระดูก 
3. เล่นกีฬา ออกกำลังกาย คือปัจจัยที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง
คำถาม ทำใมถึงต้องออกกำลังกาย เล่นกีฬา ออกกำลังกายทำใมช่วยให้สูงขึ้น
คำตอบ  เพราะ 

  • 1.ถ้าออกกำลังกาย ทำให้ได้ถึงพีค (เหงื่อออกเต็มตัว ชีพจรเต้นแรงตั้งแต่ร้อยกว่าครั้งต่อนาทีขึ้นไป หัวใจเต้นแรง) จะช่วยกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลั่งโกร๊ธฮอร์โมนได้เช่นกัน ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นให้เซลล์ที่สร้างกระดูกดึงแคลเซียมจากเลือดมาใช้ทำให้ กระดูกแข็งแรง จึงทำให้สูงขึ้น
  • 2. การออกกำลังกาย เล่นกีฬา เวลา 30 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายหลั่งสารความสุข หรือ เอนโดฟิน (จะช่วยทำให้ ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย ทำให้ต่อมใต้สมอง หลั่ง โกรทฮอร์โมนได้ดีขึ้น)
  • 3. เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และจะทำให้ไปกระตุ้นการสร้างกระดูก

คำถาม แล้วเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายอะไร ทำให้สูงขึ้นเยอะๆ
คำตอบ  กีฬาอะไรก็ได้ แต่ที่ดีควรเป็นกีฬาที่มีการกระโดด และการออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนักที่เท้า เช่น กระโดดเชือก  บาสเก็ต บอล  วอลเล่บอล  วิ่ง ฟุตบอล  แบดบินตัน และ แอโรบิก เป็นต้น  การออกกำลังกายประเภทนี้ จะเป็นการส่งแรงกระตุ้นไปที่แผ่นความเจริญเติบโตของกระดูก  ซึ่งจะมีอยู่ บริเวณปลายกระดูกแต่ละท่อน  จึงช่วยทำให้ในช่วงที่ร่างกายยังมีการเจริญเติบโตอยู่นี้ สูงขึ้นได้เร็วกว่าปกติ

4. การนอนหลับ (ลึก) เชื่อมโยงกับ ฮอร์โมน ตัดสินว่าคุณจะสูงหรือเตี้ย แต่เรามีวิธีแก้
ฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อความสูงของคนเรามีหลายชนิด ดังนี้

  • 1. โกรธฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งออกมาอย่างเต็มที่ใน ขณะที่เราหลับสนิท (หลับลึก) การนอนควรนอนหลับให้เพียงพอในช่วงกลางคืน เพราะ Growth Hormone จะหลั่งออกมามากขณะนอนหลับ และเริ่มหลั่งตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ(ช่วง3ทุ่มถึงตี3 เป็นช่วงที่ Growth hormone หลั่งออกมามาก)  จึงไม่ควรนอนดึกมีผลวิจัยออกมาแล้วว่านอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อความสูง โกรธฮอร์โมนมีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของกระดูกทำให้กระดูกขยายตัวในแนวยาว ส่งผลให้เราสูงขึ้น ซึ่งเด็กที่ขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะมีรูปร่างเตี้ยแต่สมส่วนฮอร์โมนจากต่อม
  • 2. ไทรอยด์ (Thyroid Gland)โดยเฉพาะฮอร์โมนที่ชื่อไทร็อกซิน (Thyroxin)ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้กระดูกมีการพัฒนาไปตามปกติ หากเด็กขาดไทร็อกซินจะทำให้มีรูปร่างเตี้ยแคระ ไม่สมส่วน
  • 3. ฮอร์โมนเพศ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) และฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen)ในกรณีที่เด็กหญิงชายบางคน มีการหลั่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้เร็วกว่าปกติ (เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็ว)จะมีผลให้ปลายกระดูกปิดเร็วขึ้นและค่อยๆ หยุดการเจริญเติบโตในที่สุด ทั้งนี้เด็กหญิงที่มีประจำเดือนเร็ว มีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้หญิงที่ไม่สูงและพบว่าหลังการมีประจำเดือนเกิน ๓ ปีไปแล้ว ผู้หญิงจะหมดโอกาสสูง เช่นเดียวกับเด็กชายที่ความสูงจะไม่เพิ่มขึ้นหลังจากเสียงแตกเกิน ๓ ปี ความเจ็บป่วย โรคประจำตัวเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคไต โรคปอด โรคหัวใจ โรคกระดูกคด เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความสูงของเราหยุดชะงัก
          สำหรับคนที่สงสัยว่าฮอร์โมนผิดปกติ ท่านสามารถไปตรวจที่ รพ.รามา หรือ โรงบาลทั่วไป แผนกหมอกระดูก หมอจะเอ๊กซเรย์ดูปลายกระดูกว่าปลายกระดูกของคุณปิดหรือยัง ถ้ายังแสดงว่าคุณยังสูงได้อีก และอาจจะตรวจเลือดหาฮอร์โมน ว่าคุณมีภาวะพร่องฮอร์โมนความสูงหรือไม่ ถ้าพร่อง หรือมีน้อย หมอก้อจะจัดยาบำรุงให้ บางคนฉีดฮอร์โมนเสริม 1 เข็มต่อเดือน เพิ่มให้ หรืออาจจะให้ยามากิน



วิธีทำให้สูงสำหรับวัยหยุดเจริญเติบโต (วิธีการผ่าตัด) 
            ตามที่ปรากฏเป็นข่าว นพ.พรเอนก ตาดทอง ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การผ่าตัดเพิ่มความสูง (Height Operation) ไม่ใช่การค้นพบใหม่หรือเพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่ปี แต่เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว มีการค้นพบว่าถ้ามีการแยกกระดูกออกจากกันอย่างถูกวิธีและให้กระดูกนั้นห่างออกจากกันในอัตราความเร็ววันละ 1 มิลลิเมตร ร่างกายจะสามารถสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาตรงบริเวณช่องว่างนั้นได้ โดยใช้เครื่องมือตรึงกระดูก ที่เรียกว่า Ilizarov กับบุคคลที่มีปัญหาเรื่องส่วนสูงซึ่งถือเป็นการบริการศัลยกรรมความงามด้านหนึ่งศัลยแพทย์กระดูกและข้อผู้นี้ บอกด้วยว่า การรักษาเป็นการผ่าตัดที่ทำให้ผู้ป่วยสูงขึ้นอย่างช้าๆ โดยจะต้องใช้เวลาในการยืดกระดูกโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เดือนต่อ 1 เซนติเมตร 5 เดือนก็จะได้ความสูงเท่ากับ 5 เซนติเมตร

            ซึ่งข้อจำกัดในการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแต่ละคน โดยไม่ได้อยู่ที่ปริมาณความสูง อายุ หรือเพศ เช่น ยืนแค่ไหนแล้วดูดีสมส่วน ทั้งนี้ ผู้ทำการรักษาต้องไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคเรื้อรัง โรคเบาหวานสำหรับผู้ที่ทำการรักษามี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มคนที่มีปมด้อย กลุ่มคนที่ต้องการเข้าสถานศึกษาที่มีการกำหนดความสูงขั้นต่ำ กลุ่มนักกีฬา และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มที่ต้องการเสริมบุคลิกภาพความงามส่วนการผ่าตัดนั้น แพทย์จะใช้วิธีการตัดเนื้อกระดูกออกเหลือเยื่อหุ้มกระดูกซึ่งกระดูกจะไม่ถูกทำลาย แล้วยึดด้วยเส้นลวด 4 เส้น ถ่างกระดูกออกประมาณ 1 มิลลิเมตร (มม.) ด้วยเครื่องยึดตรึงกระดูก (llizarov)โดยใช้เวลาในการผ่าตัดเพียงชั่วโมงเศษๆ เท่านั้น หลังจากนั้นต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาล ทำกายภาพบำบัดรอให้กระดูกเชื่อมติดกันสามารถทำได้ทีละข้างหรือพร้อมกันทั้งสองข้าง พร้อมกับยืนยันว่าไม่มีผลข้างเคียง การผ่าตัดมีความปลอดภัยสูงขณะที่ค่าใช้จ่าย ค่ารักษา รวมทั้งค่าอุปกรณ์ ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้รับการรักษา เช่น ถ้าต้องการเพิ่มความสูงน้อยกว่า 5 เซนติเมตร ประมาณ 5 แสนบาท และถ้ามากกว่า 5 เซนติเมตร ค่าใช้จ่ายค่ารักษารวมทั้งค่าอุปกรณ์อยู่ที่ ประมาณ 800,000 บาทจากข้อมูลเบื้องต้น

วิธีทำให้สูงสำหรับทุกวัย (1 นาที สูงเพิ่มขึ้น 1 เซ็นติเมตร) เทคนิคจากแพทย์โรคกระดูกญี่ปุ่น เห็นผลจริง

เทคนิคง่ายๆ แต่เห็นผลจริง หยิกแก้มได้ไม่ใช่ฝัน คุณก็ทำได้ (แต่ ต้องทำทุกวัน)

1. นั่งคุกเข่า


2. โน้มตัวไปด้านหลัง


3. นอนราบและยกแขนไปด้านบนตามภาพ และค้างไว้ในท่านี้ 1 นาที


ผลสำหรับผู้ที่ทำท่านี้ เป็นวิธีที่ทำให้สูงขึ้น


      สรุป จะช่วยให้กระดูกที่งอหรือคดไปตามกาลเวลา ให้กลับมาอยู่ในแนวตรง ทำแค่วันละ 1นาที กระดูก สันหลังจะกลับมาอยู่ในแนวตรง ผล คือเราก็จะได้ความสูงตามความสูงที่เป็นจริงของร่างกายของเรา กลับมา


เป็นไงกันบ้างสำหรับ วิธีเพิ่มความสูงดังที่กล่าวมา ถ้าชอบสามารถบอกต่อได้ด้านล่างค่ะ

วิธีทําให้สูง วิธีเพิ่มความสูง และเทคนิคลับเพิ่มความสูงภายใน 1 นาที
สอบถามเพิ่มเติม

อีเมล์ Bangbpharma@gmail.com

ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมด จาก http://www.rakjung.com/healthy-no81.html
                               ภาพ  จาก  http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000083966