วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

อ่านค่า SPF-PA ของครีมกันแดด

ที่มารูปภาพ: http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2012/10/X12779555/X12779555.html

อ่านค่า SPF-PA ของครีมกันแดด

เพื่อการปกป้องผิวจากแสงแดด เราไม่ควรละเลยการทาครีมกันแดด โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดที่ปกป้องผิวจาก UVA และ UVB

สังเกตได้จาก ค่า PA ที่มีคุณสมบัติปกป้องผิวจาก UVA ส่วน ค่า SPF จะป้องกัน UVB

แต่ทั้งค่า PA และ SPF ต่างก็มีแยกย่อยออกเป็นหลายชนิด และความแตกต่างนั้นบ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่ต่างกัน เริ่มจาก ค่า PA ที่มักจะมีให้เห็น อาทิ PA+, PA++, PA+++


สำหรับความหมายของ + ที่ติดมากับค่า PA คือความสามารถปกป้องผิวจากยูวีเอ แบบเท่าตัว กล่าวคือ เครื่องหมายบวกเดียว เท่ากับการป้องกันยูวีเอ 2 เท่า เครื่องหมายบวกสองตัว คือ ปกป้อง 4 เท่า และสามบวก คือ ป้องกันยูวีเอ 8 เท่า

รังสียูวีมี 2 ประเภท คือ UVA และ UVB ขออธิบายให้เห็นความแตกต่างของรังสีทั้ง 2 ประเภทอย่างง่ายๆ ว่า;
UVA เป็นรังสียูวีที่ตกกระทบมายังโลกมากถึง 90% และรังสี UVA นี่เองที่เป็นสาหตุของการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ และริ้วรอย 
ส่วน UVB นั้นเป็นรังสีความถี่สั้นจึงทำร้ายผิวได้เพียงผิวชั้นนอกเท่านั้น รังสี UVB ทำให้ผิวหมองคล้ำ และแสบแดง

คราวนี้เราทำความรู้จักกับ SPF และ PA กันดีกว่าค่ะ…เริ่มจากการอ่านค่า PA ก่อนเลยนะคะ ปกติเราจะเห็นคำว่า PA+, PA++ และ PA+++ ระบุอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด…ความหมายของ ‘+’ ที่ติดมากับค่า PA หมายถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากยูวีเอแบบเท่าตัว พูดง่ายๆ คือเครื่องหมายบวกตัวเดียวจะเท่ากับการป้องกันยูวีเอ 2 เท่า, เครื่องหมายบวกสองตัว หมายถึงการป้องกันยูวีเอ 4 เท่า (2 x 2) และเครื่องหมายบวกสามตัว หมายถึงการป้องกันยูวีเอ 8 เท่า (2 x 2 = 4 x 2 =…)



มาต่อกันที่ SPF บ้าง….SPF ย่อมาจากคำว่า Sun Protection Factor ส่วนค่า SPF ที่มีตัวเลขต่อท้าย อาทิ SPF10, SPF15, SPF 60 นั้นสามารถนำมาคำนวณระยะเวลาในการปกป้องผิวจากยูวีบี โดยนำตัวเลขส่วนท้ายคูณด้วย 10* ผลลัพธ์ที่ได้หมายถึงจำนวนนาทีที่ครีมกันแดดชนิดนั้นจะป้องกันยูวีบีได้ เช่น SPF10 นำ 10×10 เท่ากับ 100 นาที

*ตัวเลขที่จะใช้คูณนั้นแต่ละคนไม่เท่ากันนะคะ ให้สังเกตุตัวเองว่าเราอยู่กลางแดดได้กี่นาทีแล้วไม่รู้สึกแสบค่ะ เราเองเป็นคนผิวค่อนข้างขาว และเป็นกระง่าย
อยู่กลางแดดได้ประมาณ 10 นาที ก็รู้สึกแสบและแดงแล้ว

หากต้องการคำนวณประสิทธิภาพในการกรอง UVB จากค่า SPF ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยใช้สูตร (1/SPF)*100% ผลลัพธ์ที่ได้คือประสิทธิภาพในการกรอง UVB เช่น SPF40 คำนวณโดย (1/40)*100% = 2.50 หมายถึงครีมตัวนี้ปกป้องยอมให้ UVB ผ่านมายังผิวเรา 2.50% หรืออาจพูดได้ว่าครีมตัวนี้ป้องกัน UVB ได้ 97.50% (100% – 2.50%) นั่นเอง

ตารางข้างล่างนี้เป็นชื่อของส่วนผสมที่มีความสามารถในการกรองรังสี UVA & UVB ซึ่งองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ FDA (Food and Drug Administration) อนุญาตให้ใส่ลงในเครื่องสำอางและสกินแคร์ต่างๆได้ (source: wikipedia)


สำหรับการทากันแดดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั่นก็คือ

Physical กับ Chemical Sun-screen
Physicalหรือครีมกันแดดชนิดกายภาพ เป็นสารที่ช่วยสะท้อนแสงออกไป ซึ่งอาจจะทำให้ดูขาววอก ส่วน Chemical Sun-screen จะทำการดูดซับรังสี UV แทนผิว แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นสารควบคุมให้ใช้ในปริมาณที่จำกัด ตามกฏหมวยเครื่องสำอางค์ควบคุม

ครีมกันแดดที่อ้างว่ากันน้ำ หรือกันเหงื่อ ไม่ได้หมายความว่ามันจะกันได้ตลอด เมื่อเหงื่อออก ลงน้ำ หรืออะไรก็ตาม สารเคมีที่เป็นตัวกันแดดจะเสื่อมลง หลายๆ ครั้ง มันก็ยังเหนียวหนึบติดผิวเราอยู่ คือ พอถูกน้ำประสิทธิภาพในการกันแดดจะลดลง โดยส่วยมากแล้ว คำว่า Waterproof หรือ Water Resistant จะทนน้ำได้ไม่เกิน 60 นาที ก็เสื่อมแล้ว ส่วน Very Water Resistant จะอยู่ได้ไม่เกิน 80 นาทีแค่นี้เอง

ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถปกป้องผิวจากรังสียูวีที่จ้องจะทำร้ายผิวเรา ก็ควรเลือกครีมกันแดดที่สามารถป้องกันและกรองรังสียูวีอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่เราหาได้ค่ะ

เอกสารอ้างอิง เนื้อหาและรูปภาพประกอบ
- วิธีอ่านค่า SPF-PA ของครีมกันแดด  04/19/2012
เข้าถึงข้อมูลได้จาก: https://muyaa.wordpress.com/2012/04/19/วิธีอ่านค่า-B2-spf-pa-ของครีมกัน/

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ครีมกันแดด การปกป้องผิวจากภัยแดดอย่างถูกวิธี


ที่มารูปภาพ:http://board.postjung.com/772911.html
ครีมกันแดด การปกป้องผิวจากภัยแดดอย่างถูกวิธี
     จากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากชั้นบรรยากาศที่ทำหน้าที่กรองรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ค่อยๆถูกทำลายลง จนทำให้รังสียูวีเอ และรังสียูวีบี ที่มีอยู่ในแสงแดดตกลงมากระทบถึงพื้นผิวโลก ส่งผลให้ผิว ของเรา เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ฝ้า กระ ผิวไหม้ แสบแดง ผิวหนังอักเสบ ไปจนถึงมะเร็งผิวหนัง
      ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดมีการผลิตออกมามากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค จนในบางครั้งอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ อย่างคำว่า sunscreen และ sunblock ที่ระบุอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์ ทั้ง 2 คำนี้อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความสงสัยว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร และชนิดไหนให้ผลดีกว่ากัน ซึ่งในความเป็นจริง 2 คำนี้ใช้เรียกแทนกันได้ในการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต เพียงแต่ sunscreen (Chemical Suncreen) คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันแสงแดดเป็นส่วนผสม อาจแสดงค่าการป้องกันแสงเป็นค่า SPF (Sun Protection Factor) มีคุณสมบัติช่วยปกป้องผิวหนังจากแสงแดดได้ด้วยการดูดซับรังสี UV และควรทาก่อนถูกแสงแดดเป็นเวลา 30 นาที เนื่องจากต้องการเวลาในการเกิดปฏิกิริยาเคมี ส่วน sunblock (Physical Sunscreen) เป็นคำที่ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะทึบแสงมาก ๆ และมีความข้นหนืดสูง มีคุณสมบัติปกป้องผิวด้วยการช่วยสะท้อนหรือกระจายแสง UV ออกจากผิว ไม่ให้แสง UV ผ่านเข้าชั้นผิวหนังได้  ทีนี้มาดูลักษณะของครีมกันแดดที่ดีกัน…. 
     ครีมกันแดดที่ดีควรป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB และต้องมีส่วนผสมของสารที่ทำหน้าที่ป้องกันแสง เช่น benzophenones, oxybenzone, sulisobenzone, titanium dioxide, zinc oxide เป็นต้น รวมทั้งควรมีคุณสมบัติในการดูดซับรังสียูวีได้ดี หรือมากที่สุดเท่าที่จะ มากได้ ต้องละลายน้ำได้น้อย หรือไม่ละลายเลย ไม่ถูกชำระล้างด้วยเหงื่อ และต้องไม่เป็นพิษ ไม่ระคายเคือง ไม่กระตุ้นภูมิแพ้ ไม่ก่อให้เกิดสิว เมื่อทาแล้วต้องไม่เหนียวเหนอะหนะ ไม่แสบ ไม่เป็นตะกอนอยู่บนผิว และ แห้งเร็ว ที่สำคัญคือ ต้องแน่ใจว่าครีมกันแดดที่ทานั้นยังไม่หมดอายุ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุไม่เกิน 2 ปี เป็นอย่างมาก  สำหรับการเลือกซื้อครีมกันแดดอย่างถูกวิธี คือ
     1. ฉลากผลิตภัณฑ์จะต้องเป็นภาษาไทย แสดงชื่อและประเภทของผลิตภัณฑ์ ชื่อและปริมาณ ส่วนประกอบสำคัญ ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วิธีใช้ ปริมาณสุทธิ และคำเตือน
      2. ควรพิจารณาเลือกซื้อครีมกันแดดที่มีสารกรองแสงรังสีทั้งยูวีเอและยูวีบีเป็นองค์ประกอบ เพื่อป้องกันการเกิดริ้วรอย และปกป้องไม่ให้ผิวดำคล้ำหรือเกิดการอักเสบจากการถูกแดดเผาได้
     3. ควรเลือกซื้อครีมกันแดดบอกค่าป้องกันแสงแดด (SPF- Sun Protection Factor)  เช่น SPF 12, 15 หรือ 30 เป็นต้น และควรเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น ถ้าต้องทำงานนอกสถานที่หรือต้องได้รับแสงแดดจัดเป็นเวลานาน ควรเลือกซื้อค่าที่สูง เช่น SPF 15 หรือมากกว่านั้น
     4. กรณีต้องการป้องกันแสงแดดขณะว่ายน้ำควรเลือกชนิดที่กันน้ำ (Water resistance) ถ้าใช้ขณะอากาศร้อนมากเหงื่อออกง่าย หรือป้องกันแสงแดดเมื่อเล่นกีฬา ควรเลือกชนิดทนต่อเหงื่อ  (Sweat resistance)
     5. ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ครีมกันแดด โดยทาผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดนั้น ๆ ในปริมาณเล็กน้อยที่ท้องแขน แล้วทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง หากไม่มีความผิดปกติใด ๆ แสดงว่าใช้ได้  อย่างไรก็ตาม การใช้ครีมกันแดดเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด แต่ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลาแดดจัด ๆ โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00-16.00 น. และควรทาครีมก่อนออกแดดอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้เนื้อครีมเคลือบติดที่ผิวได้ดี สำหรับผู้ที่ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ แนะนำให้ทาซ้ำทุก 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการปกป้องผิวจากแสงแดด

ที่มารูปภาพ: https://muyaa.wordpress.com/2012/04/19/วิธีอ่านค่า-B2-spf-pa-ของครีมกัน/


เอกสารอ้างอิง : 
- สารพันคำถามเรื่อง ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง ตอบโดย เภสัชกร : คำถามที่ 26. คำว่า sunscreen กับ     sunblock ที่ผลิตภัณฑ์กันแดด ต่างกันอย่างไร อะไรให้ผลดีกว่ากัน - ครบเครื่องเรื่องครีมกันแดด  เข้าถึงข้อมูลได้จาก :  http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%8... 
- เภสัชกรแนะวิธีเลือกครีมกันแดด ควรเลือกค่า SPF ให้เหมาะสม และสามารถป้องกันได้ทั้ง UV-A และ UV-B   ในแสงแดดจะมีรังสีทั้ง 2 ชนิดนี้ เข้าถึงข้อมูลได้จาก :   http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/21976
-หมวด: ส่งเสริม/ป้องกัน เผยแพร่เมื่อ วันอังคาร, 17 เมษายน 2555 09:30เขียนโดย Super User รู้จักครีมกันแดด เพื่อการปกป้องผิวจากภัยแดดอย่างถูกวิธี  เข้าถึงข้อมูลได้จาก :http://healthy.moph.go.th/index.php/78-2012-03-26-04-16-18/86-2012-04-17-02-30-35

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีหยอดตาที่ถูกต้อง เปลี่ยนซะ ความเคยชินที่ทำผิดประจำ




    วิธีหยอดตาที่ถูกต้องเป็นอย่างไร มาดูแล้วเปลี่ยนพฤติกรรมกันเถอะ

              ใครคิดว่าการหยอดตาไม่เห็นยาก ก็แค่หยดยาลงบนกลางลูกตา แล้วกะพริบตาหลาย ๆ ครั้ง เท่านี้ก็เสร็จแล้ว นี่ล่ะวิธีการหยอดตาแบบเคยชินที่คนทำผิดประจำ แบบนี้ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหน่อยแล้ว

              มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่เข้าใจว่า เราสามารถหยอดตาพร้อมกันได้หลาย ๆ ชนิด และเมื่อหยอดเสร็จแล้วก็ให้กะพริบตาหลาย ๆ ครั้ง เพราะเข้าใจว่าจะช่วยให้ยาซึมผ่านเข้าไปได้เร็ว แต่ขอบอกว่าใครที่ทำแบบนี้จนเคยชินอยู่ต้องเปลี่ยนวิธีการหยอดตาเสียใหม่ได้แล้วค่ะ เพราะนี่เป็นวิธีที่ผิด ซึ่งอาจทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร แล้วอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับดวงตาก็ไม่หายเสียทีด้วย เผลอ ๆ ติดเชื้อมากขึ้นกว่าเดิมอีกต่างหาก 

              เช่นนี้แล้ว ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ก็เลยจัดทำคลิปวิดีโอแอมิเนชั่น สอนวิธีการใช้ยาหยอดตาที่ถูกต้อง พร้อมให้คำแนะนำต่าง ๆ ที่คนจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตาควรรู้ไว้เลย จะได้ไม่หยอดตากันแบบผิด ๆ อีกต่อไปค่ะ ลองมาดูกัน

    ขั้นตอนการใช้ยาหยอดตาที่ถูกต้อง



               1. ล้างมือให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง



              2. อยู่ในท่านั่งหรือยืนที่ถนัด หากอยู่ในสถานที่ที่สะดวก จะนอนก็ได้ แล้วแหงนหน้าขึ้น



               3. ระวัง อย่าให้นิ้วมือสัมผัสกับปลายจุกขวดยา



              4. ใช้นิ้วมือข้างหนึ่งดึงหนังตาล่างลง ให้เกิดกระพุ้ง



               5. ใช้มือข้างที่ถนัดถือขวดยาหยอดตา วางมือข้างที่ถือขวดยาบนมือที่เปิดตา เพื่อกะตำแหน่ของกระพุ้งตาได้อย่างถูกต้อง



              6. เหลือบตาขึ้นด้านบน แล้วบีบยา 1 หยดเบา ๆ ลงในกระพุ้งตา ระวัง อย่าให้ปลายขวดยาสัมผัสกับขนตา หรือส่วนอื่นของคนตา



              7. การหยอดตาเพียง 1 หยดนั้นเพียงพอแล้ว การหยอดตามากกว่า 1 หยด ไม่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น และเป็นการสิ้นเปลือง


               8. หลับตาประมาณ 2-3 นาที เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น




    ข้อควรระวัง !

              --หากต้องใช้ยาหยอดตา 2 ชนิด หลังจากหยอดยาชนิดแรก ให้เว้นระยะประมาณ 5-10 นาที จึงหยอดยาชนิดที่ 2 เพราะหากหยอดพร้อมกันจะทำให้ฤทธิ์ของยาเจือจาง

              -- หลังจากเปิดขวดยาหยอดตาจะมีอายุการใช้งาน 1 เดือน

              -- ไม่ควรเปิดขวดยาทิ้งไว้ ใช้เสร็จปิดทันที

              -- ไม่ควรวางขวดยาหยอดตาไว้ในที่แดดส่อง หรือที่ร้อน

              เห็นไหมว่าไม่ยากเลย ขอแค่ใส่ใจกับการหยอดตาสักนิด เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดี ใครที่เคยใช้วิธีหยอดตาแบบผิด ๆ มาตลอด ก็นำเทคนิคดี ๆ จากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ไปทำตามกันนะคะ



    คลิป วิธีหยอดตาที่ถูกต้อง โดยราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์โดย ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย The Royal College of Ophthalmologists of Thailand สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม



    ที่มาข้อมูล http://health.kapook.com/view109535.htm
      เรียบเรียงข้อมูลโดย  กระปุกดอทคอม
      ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย 


วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ


 


โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
สมองของคนจะมีเยื่อหุ้มสมองอยู่ 3 ชั้น เรียกว่า Mininges และมีน้ำไขสันหลังอยู่กลาง การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองเรียกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Meningitis สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อไวรัสเป็นแล้วไม่รุนแรง แต่เชื้อแบคทีเรียเป็นแล้วรุนแรง

เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยผ่านทางเสมหะ และน้ำมูก แต่คนที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ไม่เกิดโรค
สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุขึ้นกับอายุ
  • ในทารกแรกเกิดเชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ได้แก่เชื้อ Group B streptococci, Listeria, or Escherichia coli
  • เด็กอายุ 2-12 ปีเชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Neisseria meningitidis and Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae
เชื้อแบคทีเรียบางชนิดหากได้รับจะมีโอกาศติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เช่นเชื้อ Neisseria meningitidis หรือไข้กาฬหลังแอ่น มักจะพบระบาดในสถานรับเลี้ยงเด็ก สำหรับเชื้อ Haemophilus influenzae สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน Hib vaccine
อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ผู้ป่วยมักจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ คอแข็งเป็นอาการที่สำคัญ บางรายอาจจะมีอาการซึมลง คลื่นไส้อาเจียน บางรายอาจจะมีผื่น ร่ยที่เป็นมากจะมีความดันโลหิตต่ำหรือโลหิตเป็นพิษ
การตรวจวินิจฉัย
หากประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเข้าได้กับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแพทย์จะทำการตรวจ
  • เจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
  • บางรายอาจจะเจาะหาระดับเกลือแร่ในเลือด
  • แพทย์จะเจาะนำเอาน้ำไขสันหลัง (spinal tap,lumbar puncture ) เพื่อนำน้ำไขสันหลังไปตรวจและเพาะเชื้อ
  • แพทย์บางรายอาจจสั่งตรวจ computer scan





   การรักษา
  • ถ้าเป็นเชื้อไวรัสแพทย์จะให้พัก และให้น้ำเกลือ
  • ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
การรักษาใช้เวลานานแค่ไหน
  • ผู้ป่วยที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอาจจะต้องให้ยาฉีด 10-14 วัน หลังจากหายจะต้องเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน เช่น หูหนวก ชัก หรือตาบอด
การป้องกัน
เชื้อส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่มีเชื้อบางชนิดสามารถป้องกันได้
  • ป้องกันเชื้อ Haemophilus influenzae โดยการฉีดวัคซีน Hib vaccine
  • คนที่สัมผัสกับคนที่ป่วยด้วยโรคไข้กาฬหลังแอ่น ให้รับประทานยาป้องกันการติดเชื้อ
  • วัคซีนป้องกันเชื้อปอดบวม pneumococcus สามารถป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบในผู้ใหญ่ แต่ไม่สามารถป้องกันสมองอักเสบในเด็ก
อ่านต่อ: http://www.muslimvoicetv.com/health/healthy_content.php?nid=13788#ixzz38GdC4Mim

สอบถามเพิ่มเติมที่ร้านขายยา

 — ที่ ร้านขายยาบางบอน5เภสัช

ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.muslimvoicetv.com/health/healthy_content.php?nid=13788