วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

หายโรคกรดไหลย้อน แค่กินกระเทียมวันละ 5 กลีบ

กระเทียม

มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก และเป็นสมุนไพรที่สำคัญในการปรุงอาหารของไทยเรามากๆขาดกระเทียมไม่ได้เลย อะไร ๆ ก็ต้องใส่กระเทียมถึงจะอร่อยนะคะ การใช้กระเทียมให้พอดีพอเหมาะต่อครั้งปฏิบัติให้ถูกตามที่กล่าว ร่างกายก็จะไม่มีอะไรแทรกซ้อนเกิดเจ็บป่วยขึ้นได้ แต่จะได้ผลดีต่อการใช้ได้มาก กระเทียมคู่ครัวไทยใช้ง่ายและสะดวก หาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพง เป็นยาที่รักษาโรคได้วันละ 5-7 กลีบ ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วยก็กินได้ทุกวันนะคะ

วิธีรับประทาน
ให้กินกระเทียมสด 5- 7 กลีบ/วัน เป็นประจำโดยสับให้ละเอียดกินวันละประมาณ 2 ช้อนชา ( 10 กรัม) กินร่วมกับอาหารอื่นๆ กระเทียมเป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนมีรสค่อนข้างเผ็ดร้อน ระคายเคืองกระเพาะ หากกินกระเทียมสดต้องกินพร้อมอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อ ไข่

(สามารถสั่งซื้อได้ทาง https://www.facebook.com/Bangbon5pharma หรือ Line ID:@bb5pharmacy (มี@นำหน้าด้วยนะคะ)
กระเทียมเป็นที่ยอมรับกันว่า สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ เพราะจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และปอด โดยไปเพิ่มอัตราการขับสารก่อมะเร็ง ป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งจับตัวกับ DNA จนไปเพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง และยังช่วยให้กระบวนการกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดอาการเป็นกรดไหลย้อน ลดอาการข้างเคียงของยารักษามะเร็งได้

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
  • ลดความดันโลหิตสูง
  • ลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด
  • ลดความหนืดของเลือด
  • ลดน้ำตาลในเลือด
  • ต้านมะเร็ง
  • ขับลม
  • ลดการอักเสบ
  • มานแผล
  • แก้เกาท์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • ลดอากากรดไหลย้อน
สอบถามเพิ่มเติมที่ร้านขายยา
  — ที่ ร้านขายยาบางบอน5เภสัช
ขอบพระคุณแหล่งที่มา : www.aufarm91.com

การปกป้องผิวจากแสงแดด เราไม่ควรละเลยการทาครีมกันแดด โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดที่ปกป้องผิวจาก UVA และ UVB
สังเกตได้จาก ค่า PA ที่มีคุณสมบัติปกป้องผิวจาก UVA ส่วน ค่า SPF จะป้องกัน UVB
แต่ทั้งค่า PA และ SPF ต่างก็มีแยกย่อยออกเป็นหลายชนิด และความแตกต่างนั้นบ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่ต่างกัน เริ่มจาก ค่า PA ที่มักจะมีให้เห็น อาทิ PA+, PA++, PA+++
สำหรับความหมายของ + ที่ติดมากับค่า PA คือความสามารถปกป้องผิวจากยูวีเอ แบบเท่าตัว กล่าวคือ เครื่องหมายบวกเดียว เท่ากับการป้องกันยูวีเอ 2 เท่า เครื่องหมายบวกสองตัว คือ ปกป้อง 4 เท่า และสามบวก คือ ป้องกันยูวีเอ 8 เท่า
รังสียูวีมี 2 ประเภท คือ UVA และ UVB ขออธิบายให้เห็นความแตกต่างของรังสีทั้ง 2 ประเภทอย่างง่ายๆ ว่า;
UVA เป็นรังสียูวีที่ตกกระทบมายังโลกมากถึง 90% และรังสี UVA นี่เองที่เป็นสาหตุของการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ และริ้วรอย ส่วน UVB นั้นเป็นรังสีความถี่สั้นจึงทำร้ายผิวได้เพียงผิวชั้นนอกเท่านั้น รังสี UVB ทำให้ผิวหมองคล้ำ และแสบแดง
คราวนี้เราทำความรู้จักกับ SPF และ PA กันดีกว่าค่ะ…เริ่มจากการอ่านค่า PA ก่อนเลยนะคะ ปกติเราจะเห็นคำว่า PA+, PA++ และ PA+++ ระบุอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด…ความหมายของ ‘+’ ที่ติดมากับค่า PA หมายถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากยูวีเอแบบเท่าตัว พูดง่ายๆ คือเครื่องหมายบวกตัวเดียวจะเท่ากับการป้องกันยูวีเอ 2 เท่า, เครื่องหมายบวกสองตัว หมายถึงการป้องกันยูวีเอ 4 เท่า (2 x 2) และเครื่องหมายบวกสามตัว หมายถึงการป้องกันยูวีเอ 8 เท่า (2 x 2 = 4 x 2 =…)
มาต่อกันที่ SPF บ้าง….SPF ย่อมาจากคำว่า Sun Protection Factor ส่วนค่า SPF ที่มีตัวเลขต่อท้าย อาทิ SPF10, SPF15, SPF 60 นั้นสามารถนำมาคำนวณระยะเวลาในการปกป้องผิวจากยูวีบี โดยนำตัวเลขส่วนท้ายคูณด้วย 10* ผลลัพธ์ที่ได้หมายถึงจำนวนนาทีที่ครีมกันแดดชนิดนั้นจะป้องกันยูวีบีได้ เช่น SPF10 นำ 10×10 เท่ากับ 100 นาที
*ตัวเลขที่จะใช้คูณนั้นแต่ละคนไม่เท่ากันนะคะ ให้สังเกตุตัวเองว่าเราอยู่กลางแดดได้กี่นาทีแล้วไม่รู้สึกแสบค่ะ เราเองเป็นคนผิวค่อนข้างขาว และเป็นกระง่าย
อยู่กลางแดดได้ประมาณ 10 นาที ก็รู้สึกแสบและแดงแล้ว
หากต้องการคำนวณประสิทธิภาพในการกรอง UVB จากค่า SPF ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยใช้สูตร (1/SPF)*100% ผลลัพธ์ที่ได้คือประสิทธิภาพในการกรอง UVB เช่น SPF40 คำนวณโดย (1/40)*100% = 2.50 หมายถึงครีมตัวนี้ปกป้องยอมให้ UVB ผ่านมายังผิวเรา 2.50% หรืออาจพูดได้ว่าครีมตัวนี้ป้องกัน UVB ได้ 97.50% (100% – 2.50%) นั่นเอง
ตารางข้างล่างนี้เป็นชื่อของส่วนผสมที่มีความสามารถในการกรองรังสี UVA & UVB ซึ่งองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ FDA (Food and Drug Administration) อนุญาตให้ใส่ลงในเครื่องสำอางและสกินแคร์ต่างๆได้ (source: wikipedia)
สำหรับการทากันแดดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั่นก็คือ
Physical กับ Chemical Sun-screen 
Physicalหรือครีมกันแดดชนิดกายภาพ เป็นสารที่ช่วยสะท้อนแสงออกไป ซึ่งอาจจะทำให้ดูขาววอก ส่วน Chemical Sun-screen จะทำการดูดซับรังสี UV แทนผิว แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นสารควบคุมให้ใช้ในปริมาณที่จำกัด ตามกฏหมวยเครื่องสำอางค์ควบคุม
ครีมกันแดดที่อ้างว่ากันน้ำ หรือกันเหงื่อ ไม่ได้หมายความว่ามันจะกันได้ตลอด เมื่อเหงื่อออก ลงน้ำ หรืออะไรก็ตาม สารเคมีที่เป็นตัวกันแดดจะเสื่อมลง หลายๆ ครั้ง มันก็ยังเหนียวหนึบติดผิวเราอยู่ คือ พอถูกน้ำประสิทธิภาพในการกันแดดจะลดลง โดยส่วยมากแล้ว คำว่า Waterproof หรือ Water Resistant จะทนน้ำได้ไม่เกิน 60 นาที ก็เสื่อมแล้ว ส่วน Very Water Resistant จะอยู่ได้ไม่เกิน 80 นาทีแค่นี้เอง
ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถปกป้องผิวจากรังสียูวีที่จ้องจะทำร้ายผิวเรา ก็ควรเลือกครีมกันแดดที่สามารถป้องกันและกรองรังสียูวีอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่เราหาได้