วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Lactose intoleranc ภาวะแลคโตสไม่ย่อย ปัญหาที่คนเอเชีย ต้องเจอ

Lactose intolerance หมายถึง ภาวะแลคโตสไม่ย่อย ซึ่งคือภาวะของทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดอาการเช่น ท้องเสีย ท้องอืด และมีแก๊ซในกระเพาะหลังดื่มนมหรือรับประทานอาหารที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์นม
แลคโตสคือน้ำตาลที่พบในนมหรือผลิตภัณฑ์นมเช่น เนย ชีส สำไส้เล็กเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร ลำไส้เล็กยังผลิตเอนไซม์ที่เรียกว่า แลคเทส(
lactase) ซึ่งใช้ในการสลายหรือย่อยแลคโตสให้กลายเป็น กลูโคส และกาแลคโตส เพื่อที่จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารน้ำตาลสองชนิดไปใช้งานได้
กานขาดเอนไซม์แลคเทสและการบกพร่องในระบบการดูดซึมแลคโตสอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแลคโตสไม่ย่อย ในบางคนสำไส้เล็กผลิตแลคเทสไม่เพียงพอที่จะใช้ย่อยแลคโตส สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกรรมพันธ์ดดยเฉพาะคนเอเชีย
คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะแลคโตสไม่ย่อยสามารถดื่มหรือกินอาหารที่มีแลคโตสได้จำนวนหนึ่ง ภาวะแลคโตสไม่ย่อยสามารถเข้าใจผิดกับภาวะแพ้นมได้ ภาวะแพ้นมคือ ภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านโปรตีนของนมชนิดหนึ่งซึ่งต่างจากภาวะแลคโตสไม่ย่อยที่เป็นึฃความบกพร่องของระบบย่อยอาหาร
อาการแสดง ของภาวะแลคโตสไม่ย่อยเกิดขึ้นหลังรับประทานหรือดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์นมภายใน 30นาที ถึง 2 ชั่วโมง อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ไม่มากไปจนถึงอาการหนักซึ่งขึ้นอยู่กับบุคคลและจำนวนของแลคโตสที่รับประมานเข้าไป อาการทั่วไปสามารถมีได้ดังนี้
-ท้องเสีย
-ท้องอืดรู้สึกแน่นท้อง
-ปวดท้อง
-มีแก็สในกระเพาะอาหาร
-วิงเวียน
ภาวะแลคโตสไม่ย่อยไม่ได้เป็นอันตรายและไม่สามารถแก้ไขรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบว่ามีอาการเหล่านี้ก็พยายามหลีดเลี่ยงอาหารจำพวกนมหรือ ดื่มนมหรืออาหารที่ไม่มีส่วนผสมของแลคโตส ในปัจจุบันนมและผลิตภัณฑ์นมก็จะมีข้อความว่า lactose free ยาแลคโตสเอนไซม์สามารถหาซื้อได้ดดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ยาพวกนี้จะใช้กินก่อนอาหารจำพวกนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม ถ้าต้องรู้ให้แน่ชัดว่าเราเป็นภาวะแลคโตสไม่ย่อยควนปรรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องใช้ยา


ความแตกต่างของคุณสมบัติยาแคลเซียมแต่ละชนิด

ความแตกต่างของคุณสมบัติยาแคลเซียมแต่ละชนิด

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

แคลเซียม เมื่อไรทีต้องการ และถ้าทานต้องทานแบบไหนดี ?????

แคลเซียมสำหรับคนที่สนใจสุขภาพ พูดถึงสุขภาพแล้วไม่มีคำว่าแก่เกินไป ว่าด้วยเรื่องของ แคลเซียมนั้น จึงมีคนอยากรู้และได้รับคำถามเสมอ แคลเซียมขาดตอนไหน ต้องได้เท่าไรถึงพอ ทานอย่างไรดี
แคลเซียมเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ซึ่งร่างกายจะประกอบด้วยแคลเซียม99 % ซึ่งอยู่ไหนกระดูกละฟัน อีก 1 % อยู่ไหนระบบไหลเวียนเลือดของร่างกาย ดูเหมือนน้อย แต่มีประโยชน์ ซึ่งออกฤทธิ์เกี่ยวกับสารสื่อประสาทในร่างกาย ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการทำงานของมวลกล้ามเนื้อ ออกฤทธิ์ในการควบคุมการเต้นของหัวใจ แคลเซียมจึงมีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย แล้วเรา
ร่างกายเริ่มมีดูดซึมตั้งแต่เด็ก และจะสามารถดูดซึมได้จนถึงอายุ 30 ร่างกายก็จะไม่สามารถเก็บแคลเซียมได้ ถ้าร่างกายได้รับไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะดึงจากที่สะสมในร่างกายมาใช้ซึ่งนั้นก็มาจากกระดูกนั้นเอง ปริมาณที่ต้องการต่อวัน ตั้งแต่อาสยุ1ปีขึ้นไปต้องการ ++800 ต่อวัน อายุ30ปีขึ้นไป++1000ต่อวัน อายุมากกว่า50++1200ต่อวัน  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม, เชื้อชาติ เป็นต้น 
ซึ่งแหล่งแคลเซียม มีอยู่มากมายที่รู้จักกัน  คือ นม แต่นมต้องย่อยสลายก่อนร่างกายถึงจะดูดซึมแคลเซียมได้ แต่หลายคนมักแพ้นม การแพ้นม คือการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายนมได้ ร่างกายจึงไม่สามารถนำแคลเซียมจากนมไปใช้ได้ หรือลำไส้ไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยนม ผลทำให้ เกิดแก๊ส แน่นท้อง ท้องเฝ้อ ปวดไมเกรน ภูมิแพ้ ท้องเสีย ท้องผูก และเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง  พบว่าคนเอเชียแพ้นมถึง 90 % คนไทยเองมีจำนวนคนแพ้นมถึง 99% กันเลยทีเดียว
แหล่งที่มาของแคลเซียมอีกที่ ที่เรารู้จักกันดี ก้คือใน ผัก แคลเซียมจากผักสามารถย่อยได้ เช่น คะน้า 1ขีด/280Mg  กระเฉด 1ขีด/390mg ฯลฯ  เป็นต้น แต่ก็มีผักหลายชนิดที่มีแคลเซียมสูงแต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ เช่น ชะพูล 600มก /ขีดใบยอ400มก/ขีด ใบยอปัดตานี 800มก/ขีด ซึ่งเห็นว่ามีปริมาณแคลเซียมมาก แต่พืชดังกล่าว มีปริมาณออกซาเลตในปริมาณที่สูงที่ผลที่มีออกซาเลตที่สูงนั้น จะจับกับแคลเซียมเป็นแคลเซียมออกซาเลต สามารถทำให้เกิดนิ่วได้ ที่เกิดจากการจับตัวของแคลเซียมนั้นเอง
สำหรับแคลเซียมที่แพร่หลายตามท้องตลาดทั่วไป จะพบแคลเวียมในรูปแบบ
-แคลเซียมคารบอเนต มีข้อเสียคือดูดซึมได้ 10% เท่านั้น  90%ทำให้เกิด แก๊ส ท้องอืด ที่เหลือแพร่กระจายไปในเลือดกระจายไปที่ต่างๆของร่างกาย และส่วนหนึ่งขับออกทางปัสสาวะ
-เคลเซียมซิเตรต  การดูดซึมดีขึ้นคือ ดูดซึม50%   ข้อเสีย คือก็ยังตกค้างได้ถึง 50%
-แคลเซียมเอลทริโอเนต ได้จากพืช ในกระบวนการสกัดจากกระบวนการผลิตวิตามินซีจากข้าวโพด ดูดได้ดีกว่ารูปแบบอื่นถึง 9เท่า 95% จึงตกค้างในร่างกายน้อย
แต่แคลเซียมอย่างเดียวคงไม่พอเพราะกระบวนการดูซึมแคลเซียมยังต้องใช้วิตตามินอื่นเพื่อช่วงในการดูดซิม เช่น วิตตามินดี วิตามินเค2 วิตามินอี วิตตามินซี และการดูดซึมยังต้องอาศัยภาวะกรดอ่อนในร่างกายอีกด้วยเอการดูดซึมที่ดีขึ้น และการต้องการใช้วิตามินดีในการดูดซึมแคลเซียมนั้นต้องใช้ถึง วันละ 800-1000 Unit สามารถรับได้ในแสงแดดช่วงเช้า ช่วง 7-9 โมง เท่านั้น ซึ่ง2 ชั่วโมงจะได้ 200 unit กันทีเดียว ด้วยกันนั้นหากเราได้รับมากเกินไปร่างกายจะขจัดออกจากร่างกายการและยังมีภาวะที่ทำให้แคลเซียมหายไปจากร่างกายซึ่งได้แก่
1.น้ำอัดลม เนื่องจากมีฟอสพอรัสในปริมาณมาก จับตัวกันไม่ดูซึม  2.กาแฟ ปัสสาวะบ่อย  3.นิโคติน จากบุหรี่
4.วิตตามิน เอ รูปแบบเรตินอล  ฯลฯ

ดังนั้น หากต้องแนะนำการบริโภคแคลเซียนั้น ต้องดูที่ความจำเป็นและความต้องการของร่างกายแต่ละคนและภาวะโรงแต่ละคน รูปแบบแคลเซียมทมี่เหมาะสมกับคนไทยนั้น คือแคลเซียมจากพืช  ซึ่งหากได้รับต่อวันเพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเพิ่ม ก็ได้

แคลเซียมจากพืช สามารถหาเพิ่มเติมจาก
https://www.thairath.co.th/content/120402

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก


แม้มะเร็งเต้านมจะเป็นเนื้อร้ายที่ผู้หญิงเป็นมากที่สุด แต่มะเร็งที่คร่าชีวิตสาวไทยมากเป็นอันดับ 1 คือ “มะเร็งปากมดลูก” ซึ่งเฉลี่ยทำให้เสียชีวิตถึงวันละ 12 คน!! ทั้งๆ ที่เป็นมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัดก็ตาม

HPV ไวรัสตัวร้าย ก่อมะเร็งปากมดลูก
         สำหรับต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกนั้น มีตั้งแต่สารเคมีที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์ แต่รู้ไหมว่าตัวการหลักของมะเร็งปากมดลูกนั้นก็คือ เชื้อไวรัส เอชพีวี (Human Papilloma Virus) และที่น่ากลัวคือ ช่องทางหลักของการติดเชื้อ HPV นั้นคือการมีเพศสัมพันธ์ธรรมดาๆ นี่เอง

ไม่มีอาการเตือน...รู้ตัวอีกทีก็เป็นโรคแล้ว
         เชื้อ HPV สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส ช่องทางหลักคือเพศสัมพันธ์ เมื่อได้รับเชื้อ HPV จะอยู่ในร่างกายและมีเวลาดำเนินโรคประมาณ 10-15 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนเมื่ออายุ 30-60 ปี

10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก ที่คุณไม่ควรมองข้าม

1. มีเลือดออกผิดปกติ ที่ไม่ใช่ประจำเดือน
เช่น เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยะ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน

2. เลือดออกหลังวัยทอง
เช่น หญิงวัย 55 ปี หมดประจำเดือนไป 3 ปี แล้วมีเลือดออกจากช่องคลอดอีก อย่างนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

3. ตกขาวผิดปกติ
อาการตกขาวของผู้หญิงแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน การจะสังเกตว่าอาการตกขาวผิดปกติหรือไม่ ให้ใช้วิธีสังเกตจากอาการที่แตกต่างไปตนเองเคยเป็นมา เช่น ตกขาวที่ผิดปกติจะมีลักษณะเป็นหนอง กลิ่นเหม็นหรือมีลักษณะคล้ายน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด อาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน

4. ปัสสาวะขัด ปวดแสบ
อาการปวดแสบ ปัสสาวะขัด อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม อาการปัสสาวะขัด อาจเกิดขึ้นได้เสมอจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และพบได้บ่อยซึ่งยังถือว่าไม่ได้ชี้ชัดเรื่องมะเร็งปากมดลูกเลยทีเดียว เพียงแต่ไม่ควรประมาทและสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย

5. มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
อาการเจ็บขณะร่วมเพศ อาจะเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูกได่้เช่นกัน

6. ประจำเดือนมามากและนานผิดปกติ
สังเกตจากการมีประจำเดือนตามปกติ หากมีมามากกว่าที่เคยเป็น และนานกว่าที่เคยเป็น อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูกได้

7. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะจากสถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก มักจะจำได้ว่าเคยมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และมีเลือดปนในปัสสาวะ

8. เจ็บปวดตามร่างกาย
สัญญาณทั่วไปของมะเร็งปากมดลูก คือ อาการเจ็บปวดตามร่างกาย และเน้นโดยเฉพาะ ขา หลัง และ เชิงกราน ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมักจะมีประวัติว่าเคยมีอาการเหล่านี้ เนื่องจากมะเร็งที่แพร่กระจายส่งผลต่อระบบการหมุนเวียนของกระแสเลือด

9. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นสัญญาณเตือนได้ โดยเฉพาะหากมีอาการอื่นๆตามที่กล่าวมาข้างต้นร่วมด้วย เมื่อมีมะเร็งแพร่ขยาย ระบบการรักษาสมดุลของร่างกายจะทำงานอย่างหนักเพื่อทำการต่อต้านและกำจัดออกไป

10. น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
ตามปกติร่างกายจะสร้างโปรตีนเล็กๆชื่อว่า cytokines ทำหน้าที่กำจัดไขมันส่วนเกินเพื่อไม่ให้มีมากเกินกว่าระดับปกติ และกรณีเดียวกันนี้ เมื่อเกิดมะเร็ง ร่างกายก็จะสร้างกลไกแบบเดียวกันนี้ ทั้งที่คุณไม่ได้อดอาหาร จึงทำให้น้ำหนักลดและร่างกายซูบผอมได้

จากที่กล่าวมาข้างต้น การสังเกตควรดูองค์ประกอบหลายๆข้อรวมกัน หากพบว่ามีสัญญาณตรงกันหลายข้อ ให้พึงตระหนักว่าควรพบแพทย์แต่เนิ่นๆ


ขอขอบคุณเนื้อหา : teenee.com , phyathai.com

ขอขอบคุณภาพที่มา : 
healthylandshop.com

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

น้ำมันตับปลา

น้ำมันตับปลา

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

ประโยชน์ของน้ำมันตับปลาน้ำมันตับปลา จัดเป็นอาหารเสริมชนิดแรก ๆ ที่ได้เข้ามามีบทบาทในวงการสุขภาพของไทยมาหลายปีแล้ว ซึ่งถ้าพูดถึงน้ำมันตับปลาแล้ว หลาย ๆ คงก็พอจะคุ้นหูกันบ้างแหละ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าน้ำมันตับปลามันคืออะไร มันมีสรรพคุณและประโยชน์อย่างไร มีโทษมีผลเสียอะไรหรือไม่ แล้วมันแตกต่างกับน้ำมันปลายังไง แล้วที่สำคัญมันใช้ได้ผลดีจริงหรือไม่ ? วันนี้เราจึงได้นำเรื่องราวของน้ำมันตับปลามาฝากเพื่อน ๆ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้กันครับ
น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดหนึ่งที่มีสารพัดยี่ห้อไม่ว่าจะอยู่ใรูปของซอฟต์เจล แคปซูล หรือน้ำก็ตาม โดยสกัดมาจากตับของปลาทะเล ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญหรือวิตามินที่สำคัญนั่นก็คือวิตามินเอและวิตามินดี โดยนิยมใช้ในเด็กและวัยทั่วไปเพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกและช่วยเสริมสุขภาพ การรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมนั้นจะได้รับประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าการรับประทานในปริมาณมากเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากมีปริมาณของวิตามินเอสูง อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเด็กทารกในครรภ์ได้
น้ํามันตับปลากับน้ํามันปลา ต่างกันอย่างไร แล้วมันเหมือนกันหรือไม่ ? น้ำมันตับปลาสกัดมาจากตับของปลาทะเลตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนน้ำมันปลา (Fish oil) นั้นเป็นน้ำมันที่สกัดมาจากหัว หนัง เนื้อ และหางของปลาทะเล และยังมีความแตกต่างในเรื่องของคุณค่าทางอาหารอีกด้วย โดยน้ำมันตับปลาจะอุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามิดี ส่วนน้ำมันปลานั้นจะอุดมไปด้วยโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 สรุปก็คือมันไม่เหมือนกันครับ และประโยชน์ก็แตกต่างกัน
โทษของน้ำมันตับปลา : การรับประทานน้ำมันตับปลาในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดพิษจากวิตามินเอได้ เช่น มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีผลต่อระบบประสาท ทำให้ตับถูกทำลาย หิวน้ำ ปัสสาวะบ่อย และอาจทำให้ผมร่วง ผิวแห้งได้อีกด้วย ส่วนการได้รับวิตามินดีสะสมมากจนเกินไปนั้นก็อาจจะมีผลเสียต่อระบบเลือดได้เช่นกัน อาจทำให้ไตวายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงไม่แนะนำให้ซื้อมาให้เด็กรับประทานเป็นประจำและในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสั่ง เพราะยาจะสะสมในร่างกายมากจนเกินไปและทำให้เกิดอันตรายได้ (อ้างอิง : ภญ.วิภาจรี นวสิริ เภสัชกร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)
รู้ไว้ใช่ว่า : น้ำมันตับปลามีสารบางอย่างที่มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด โดยทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติเหมือนกับยาแก้ปวดอย่างแอสไพริน ถ้าหากคุณรับประทานน้ำมันตับปลาเป็นเป็นประจำและจะต้องเข้ารับการผ่าตัด คุณควรบอกแพทย์ให้ละเอียดถึงการรับประทานยา และจะต้องหยุดยาก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 10 วัน เพื่อให้เกล็ดเลือดตัวใหม่สมบูรณ์ เพื่อป้องกันอาการเลือดไหลไม่หยุดหรือออกมามากกว่าปกติ (อ้างอิง : พ.อ.รศ.นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล)

ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา

  1. วิตามินดีช่วยเสริมการทำงานของธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัสได้เป็นอย่างดี จึงช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
  2. ช่วยป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ฟันผุขั้นรุนแรง โรคกระดูกน่วม ภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
  3. วิตามินดีช่วยในการดูดซึมของวิตามินเอในน้ำมันตับปลาได้เป็นอย่างดี
  4. วิตามินดีสามารถช่วยรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบได้
  5. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องผิวหนัง และดวงตาจากการถูกทำลายจากมลพิษ
  6. ประโยชน์น้ำมันตับปลา มีส่วนช่วยขับล้างสารพิษในร่างกาย
  7. สรรพคุณน้ำมันตับปลาช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการสมานแผล
  8. ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. วิตามินเอช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
  10. ช่วยบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย โดยเฉพาะอาการของโรคข้อต่ออักเสบ (ไอส์ลา บอสเวิร์ธ แห่งสถาบันวิจัยโรคข้อต่อแห่งชาติ)
  11. การใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งแผนปัจจุบัน สามารถช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง ป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
  12. ช่วยลดอาการข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี

เนื่อหา ภาพ ทั้งหมด มาจาก     www.medthai.com
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การนอนกรน (Snoring) ป้องกัน รักษาได้


ภาวะนอนกรน (Snoring) 

นอนกรน (Snoring) คือภาวะที่มีเสียงแหบ ๆ หรือเสียงผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหายใจในขณะนอนหลับ เกิดขึ้นจากการถูกปิดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน และจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย การนอนกรนที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น นอนตะแคง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน โดยการนอนกรนส่งผลต่อทั้งสุขภาพของผู้ที่นอนกรนเองและรบกวนบุคคลที่นอนข้าง ๆ นอนกรนพบได้มากในเพศชาย และจะมีอาการหนักขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
นอนกรน
อาการนอนกรน
        นอนกรนมักเกิดขึ้นในช่วงของการหลับลึกและจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย โดยมีเสียงเกิดขึ้นที่บริเวณลำคอระหว่างหายใจเข้าในขณะนอนหลับ พบได้ในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง ส่วนมากผู้ที่นอนกรนมักเกิดอาการร่วมกันระหว่างทางเดินหายใจถูกปิดกั้นและอวัยวะภายในลำคอสั่น เสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น หากเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังของโพรงจมูกสั่นจะทำให้เกิดเสียงขึ้นจมูก หรือหากเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นจะทำให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นในลำคอ เป็นต้น
ความรุนแรงของการนอนกรน แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
  • ความรุนแรงระดับ 1 คือการนอนกรนทั่วไป ไม่บ่อย และมีเสียงไม่ดังมาก การนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อการหายใจในขณะนอนหลับ แต่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของบุคคลที่นอนข้าง ๆ
  • ความรุนแรงระดับ 2 คือการนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้อาจส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลางในขณะนอนหลับ และส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน  
  • ความรุนแรงระดับ 3 คือการนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย อาจทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นเวลาประมาณ 10 วินาที ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) คืออะไร

          ในขณะหลับ นอกจากเกิดอาการกรนแล้ว ยังพบว่า อาจมีการหยุดหายใจร่วมด้วย เมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายจะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบขึ้นจนกระทั่งปิดสนิท คล้ายกับการดูดชิ้นของอาหารด้วยหลอด ชิ้นของอาหารจะติดที่ปลายหลอด ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้ อาหารในที่นี้เปรียบเสมือนอากาศนั่นเอง เมื่ออากาศไม่สามารถผ่านทางเดินอากาศที่ปิดสนิท ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง เพื่อปรับตำแหน่งของลิ้นใหม่ ในวงรอบของการนอน อาจมีการกรนและภาวะหยุดหายใจหลายครั้ง เป็นผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่เพียงพอและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ควรไปพบแพทย์หากพบอาการต่อไปนี้ร่วมกับการนอนกรน
  • กรนเสียงดัง
  • ง่วงมากในตอนกลางวัน
  • ปวดศีรษะในตอนเช้า
  • คอแห้ง เจ็บคอ
  • สมาธิและความจำลดลง
  • นอนกระสับกระส่าย
  • สำลัก หรือเจ็บหน้าอกในตอนกลางคืน
  • ความดันโลหิตสูง

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลั

          ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความรุนแรงของอาการอยู่ในระดับน้อย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตอาจช่วยให้ดีขึ้น เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย งดดื่มสุราหรือรับประทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง หากผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวในระดับปานกลางถึงมาก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อคอ ขากรรไกร ลิ้น หรือลิ้นไก่ เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น การใช้เครื่องเป่าลมในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ [continuous positive airway pressure (CPAP) titration] ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีสุดในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องมือในช่องปากอีกด้วย ในการเลือกใช้วิธีในการรักษาใด ๆ ก็ตาม จะพิจารณาจากทั้งความรุนแรง ความเหมาะสม ความร่วมมือของผู้ป่วย ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย ตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจสอบการนอนหลับ (polysomnography) เพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและดูระดับความรุนแรงของโรค

สาเหตุของนอนกรน

นอนกรนเป็นผลมาจากทางเดินหายใจตอนบนตีบแคบลงหรือถูกปิดกั้น ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
  • ทางเดินหายใจบริเวณจมูกถูกปิดกั้น พบได้ในผู้ป่วยภูมิแพ้ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยริดสีดวงจมูก หรือผู้ที่มีโครงสร้างของจมูกผิดปกติ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เป็นต้น
  • ลิ้นและกล้ามเนื้อที่ลำคอหย่อนคลายตัว ทำให้ถอยกลับไปปิดกั้นทางเดินหายใจ พบได้ในผู้ที่หลับลึก ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากโดยเฉพาะในช่วงก่อนนอน ผู้ที่ใช้ยานอนหลับ รวมถึงผู้สูงอายุ
  • เนื้อเยื่อที่ลำคอมีขนาดใหญ่ พบได้ในคนอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก คอหนาหรือมีขนาดของรอบคอมากกว่า 43 เซนติเมตร ผู้ที่มีต่อมทอนซิลหรือต่อมแอดีนอยด์โต
  • เพดานอ่อนหรือลิ้นไก่ยาว ทำให้ทางเดินหายใจหลังจมูกและลำคอตีบแคบลง และเมื่อเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นหรือชนกันจะไปปิดกั้นทางเดินหายใจ
การวินิจฉัยนอนกรน
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ที่นอนกรน หรือตรวจร่างกาย หากแพทย์สงสัยว่าจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในช่องปากของผู้ที่นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรง เพื่อหาทางรักษาต่อไป หรือผู้ที่นอนกรนในระดับที่รุนแรง แพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้
  • การเอกซเรย์ (X-Rays) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติหรือโครงสร้างของทางเดินหายใจ
  • การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test หรือ Polysomnography) แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการนอนกรน ปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาการนอนหลับอื่น ๆ อาจต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนอนหลับโดยผู้เชี่ยวชาญ จะมีการติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจจับและบันทึกสัญญาณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลื่นสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด ระยะของการนอนหลับ การเคลื่อนไหวของดวงตา การเคลื่อนไหวของขาขณะนอนหลับ เป็นต้น
การรักษานอนกรน
เบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับผู้ที่นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรง เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนเข้านอน เปลี่ยนท่านอนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง เป็นต้น ส่วนผู้ที่นอนกรนในระดับรุนแรงหรือมีสาเหตุการกรนมาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์อาจมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถบรรเทาการนอนกรนได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น
    • อุปกรณ์ช่วยลดกรนทางจมูก เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก เช่น แผ่นแปะจมูก (Nasal Strip) มีลักษณะเป็นเทปกาวขนาดเล็กแปะที่บริเวณปีกจมูกทั้งสองข้าง
    • อุปกรณ์ช่วยลดกรนทางปาก เช่น แผ่นแปะคาง (Chin Strip) มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเทปแปะที่บริเวณใต้คางเพื่อป้องกันการอ้าปากในขณะนอนหลับ เป็นต้น
    • เครื่องช่วยจัดตำแหน่งของขากรรไกรล่าง (Mandibular Advancement Device: MAD) จะช่วยเพิ่มพื้นที่หลังของลำคอและป้องกันการตีบแคบของทางเดินหายใจซึ่งจะทำให้ลิ้นสั่นในขณะหายใจและเกิดเสียงกรนได้
  • การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถบรรเทาการนอนกรนได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนได้ เช่น
    • การผ่าตัดกระชับเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และผนังคอหอย (Uvulopalatopharyngoplasty: UPPP) ในบางกรณีอาจมีการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมแอดีนอยด์ร่วมด้วย อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการพูดไม่ชัดหลังการผ่าตัด หรือเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอย่างอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ประมาณ 1% เช่น เลือดออกมาก ปอดติดเชื้อ หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
    • การผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนและลิ้นไก่โดยใช้เลเซอร์ (Laser-Assisted Uvulopalatoplasty: LAUP) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแต่ในระยะยาวอาจให้ผลลัพธ์ได้ไม่ดีเท่าการผ่าตัดกระชับเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และผนังคอหอย
    • การผ่าตัดเพดานอ่อน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อและลดการสั่นของเพดานอ่อนในขณะนอนหลับ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency Ablation: RFA) ด้วยการใช้คลื่นวิทยุทำให้เนื้อเยื่อแข็งแรงขึ้น หรือการฝังพิลลาร์ (Pillar Procedure) โดยฉีดเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ที่เพดานอ่อน
  • การใช้ยา เพื่อรักษาที่ต้นเหตุของการนอนกรน เช่น ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) ในการบรรเทาอาการบวมและระคายเคืองในจมูกของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้คัดจมูก (Nasal Decongestant) แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้
ภาวะแทรกซ้อนของนอนกรน
นอนกรนนอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับบุคคลที่นอนข้าง ๆ แล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
  • หยุดหายใจชั่วคราว อาจนานไม่กี่วินาทีหรือนานเป็นนาทีในขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมด
  • นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกหลายครั้ง ที่อาจรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำให้รู้สึกง่วงนอนในระหว่างวัน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและประสิทธิภาพในการขับขี่ยานพาหนะ
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง หากเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นเวลานาน
การป้องกันนอนกรน
นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรงสามารถบรรเทาและป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้
  • ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จะช่วยให้การนอนกรนลดลงได้
  • นอนตะแคง การนอนหงายเพิ่มโอกาสให้ลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจ วิธีแก้ ลองเย็บกระเป๋าเล็ก ๆ ที่ด้านหลังเสื้อนอน แล้วใส่ลูกเทนนิสลงไป หากกังวลว่าจะกลับมานอนหงายในระหว่างการนอนหลับ
  • นอนหมอนสูง โดยใช้หมอนรองให้ศีรษะสูงขึ้นประมาน 4 นิ้ว
  • ใช้แผ่นแปะจมูกหรือตัวถ่างจมูกในขณะนอนหลับ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • ลดการปิดกั้นของทางเดินหายใจในจมูก ในผู้ป่วยภูมิแพ้หรือผนังกั้นช่องจมูกคดจะหายใจทางจมูกไม่สะดวกจึงต้องหายใจทางปาก ทำให้เพิ่มโอกาสในการนอนกรนได้มากขึ้น
  • ลดปริมาณหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาระงับประสาท เพื่อลดโอกาสที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอคลายตัวและปิดกั้นทางเดินหายใจ
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้คัดจมูก และหายใจไม่สะดวก
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เด็กก่อนวัยเรียนควรนอนประมาณ 11-12 ชั่วโมงต่อวัน เด็กในวัยเรียนควรนอนอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่นควรนอนประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน และผู้ใหญ่ควรนอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน


    ข้อมูล บทความ ภาพ และเนื่อทั้งหมด มาจาก https://www.pobpad.com และ 
    www.bangkokhospital.com

วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

หายโรคกรดไหลย้อน แค่กินกระเทียมวันละ 5 กลีบ

กระเทียม

มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก และเป็นสมุนไพรที่สำคัญในการปรุงอาหารของไทยเรามากๆขาดกระเทียมไม่ได้เลย อะไร ๆ ก็ต้องใส่กระเทียมถึงจะอร่อยนะคะ การใช้กระเทียมให้พอดีพอเหมาะต่อครั้งปฏิบัติให้ถูกตามที่กล่าว ร่างกายก็จะไม่มีอะไรแทรกซ้อนเกิดเจ็บป่วยขึ้นได้ แต่จะได้ผลดีต่อการใช้ได้มาก กระเทียมคู่ครัวไทยใช้ง่ายและสะดวก หาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพง เป็นยาที่รักษาโรคได้วันละ 5-7 กลีบ ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วยก็กินได้ทุกวันนะคะ

วิธีรับประทาน
ให้กินกระเทียมสด 5- 7 กลีบ/วัน เป็นประจำโดยสับให้ละเอียดกินวันละประมาณ 2 ช้อนชา ( 10 กรัม) กินร่วมกับอาหารอื่นๆ กระเทียมเป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนมีรสค่อนข้างเผ็ดร้อน ระคายเคืองกระเพาะ หากกินกระเทียมสดต้องกินพร้อมอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อ ไข่

(สามารถสั่งซื้อได้ทาง https://www.facebook.com/Bangbon5pharma หรือ Line ID:@bb5pharmacy (มี@นำหน้าด้วยนะคะ)
กระเทียมเป็นที่ยอมรับกันว่า สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ เพราะจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และปอด โดยไปเพิ่มอัตราการขับสารก่อมะเร็ง ป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งจับตัวกับ DNA จนไปเพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง และยังช่วยให้กระบวนการกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดอาการเป็นกรดไหลย้อน ลดอาการข้างเคียงของยารักษามะเร็งได้

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
  • ลดความดันโลหิตสูง
  • ลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด
  • ลดความหนืดของเลือด
  • ลดน้ำตาลในเลือด
  • ต้านมะเร็ง
  • ขับลม
  • ลดการอักเสบ
  • มานแผล
  • แก้เกาท์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • ลดอากากรดไหลย้อน
สอบถามเพิ่มเติมที่ร้านขายยา
  — ที่ ร้านขายยาบางบอน5เภสัช
ขอบพระคุณแหล่งที่มา : www.aufarm91.com