วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Lactose intoleranc ภาวะแลคโตสไม่ย่อย ปัญหาที่คนเอเชีย ต้องเจอ

Lactose intolerance หมายถึง ภาวะแลคโตสไม่ย่อย ซึ่งคือภาวะของทางเดินอาหารที่ทำให้เกิดอาการเช่น ท้องเสีย ท้องอืด และมีแก๊ซในกระเพาะหลังดื่มนมหรือรับประทานอาหารที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์นม
แลคโตสคือน้ำตาลที่พบในนมหรือผลิตภัณฑ์นมเช่น เนย ชีส สำไส้เล็กเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารและดูดซึมอาหาร ลำไส้เล็กยังผลิตเอนไซม์ที่เรียกว่า แลคเทส(
lactase) ซึ่งใช้ในการสลายหรือย่อยแลคโตสให้กลายเป็น กลูโคส และกาแลคโตส เพื่อที่จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารน้ำตาลสองชนิดไปใช้งานได้
กานขาดเอนไซม์แลคเทสและการบกพร่องในระบบการดูดซึมแลคโตสอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแลคโตสไม่ย่อย ในบางคนสำไส้เล็กผลิตแลคเทสไม่เพียงพอที่จะใช้ย่อยแลคโตส สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกรรมพันธ์ดดยเฉพาะคนเอเชีย
คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะแลคโตสไม่ย่อยสามารถดื่มหรือกินอาหารที่มีแลคโตสได้จำนวนหนึ่ง ภาวะแลคโตสไม่ย่อยสามารถเข้าใจผิดกับภาวะแพ้นมได้ ภาวะแพ้นมคือ ภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านโปรตีนของนมชนิดหนึ่งซึ่งต่างจากภาวะแลคโตสไม่ย่อยที่เป็นึฃความบกพร่องของระบบย่อยอาหาร
อาการแสดง ของภาวะแลคโตสไม่ย่อยเกิดขึ้นหลังรับประทานหรือดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์นมภายใน 30นาที ถึง 2 ชั่วโมง อาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่ไม่มากไปจนถึงอาการหนักซึ่งขึ้นอยู่กับบุคคลและจำนวนของแลคโตสที่รับประมานเข้าไป อาการทั่วไปสามารถมีได้ดังนี้
-ท้องเสีย
-ท้องอืดรู้สึกแน่นท้อง
-ปวดท้อง
-มีแก็สในกระเพาะอาหาร
-วิงเวียน
ภาวะแลคโตสไม่ย่อยไม่ได้เป็นอันตรายและไม่สามารถแก้ไขรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบว่ามีอาการเหล่านี้ก็พยายามหลีดเลี่ยงอาหารจำพวกนมหรือ ดื่มนมหรืออาหารที่ไม่มีส่วนผสมของแลคโตส ในปัจจุบันนมและผลิตภัณฑ์นมก็จะมีข้อความว่า lactose free ยาแลคโตสเอนไซม์สามารถหาซื้อได้ดดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ยาพวกนี้จะใช้กินก่อนอาหารจำพวกนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม ถ้าต้องรู้ให้แน่ชัดว่าเราเป็นภาวะแลคโตสไม่ย่อยควนปรรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องใช้ยา


ความแตกต่างของคุณสมบัติยาแคลเซียมแต่ละชนิด

ความแตกต่างของคุณสมบัติยาแคลเซียมแต่ละชนิด

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

แคลเซียม เมื่อไรทีต้องการ และถ้าทานต้องทานแบบไหนดี ?????

แคลเซียมสำหรับคนที่สนใจสุขภาพ พูดถึงสุขภาพแล้วไม่มีคำว่าแก่เกินไป ว่าด้วยเรื่องของ แคลเซียมนั้น จึงมีคนอยากรู้และได้รับคำถามเสมอ แคลเซียมขาดตอนไหน ต้องได้เท่าไรถึงพอ ทานอย่างไรดี
แคลเซียมเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ซึ่งร่างกายจะประกอบด้วยแคลเซียม99 % ซึ่งอยู่ไหนกระดูกละฟัน อีก 1 % อยู่ไหนระบบไหลเวียนเลือดของร่างกาย ดูเหมือนน้อย แต่มีประโยชน์ ซึ่งออกฤทธิ์เกี่ยวกับสารสื่อประสาทในร่างกาย ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการทำงานของมวลกล้ามเนื้อ ออกฤทธิ์ในการควบคุมการเต้นของหัวใจ แคลเซียมจึงมีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย แล้วเรา
ร่างกายเริ่มมีดูดซึมตั้งแต่เด็ก และจะสามารถดูดซึมได้จนถึงอายุ 30 ร่างกายก็จะไม่สามารถเก็บแคลเซียมได้ ถ้าร่างกายได้รับไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะดึงจากที่สะสมในร่างกายมาใช้ซึ่งนั้นก็มาจากกระดูกนั้นเอง ปริมาณที่ต้องการต่อวัน ตั้งแต่อาสยุ1ปีขึ้นไปต้องการ ++800 ต่อวัน อายุ30ปีขึ้นไป++1000ต่อวัน อายุมากกว่า50++1200ต่อวัน  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม, เชื้อชาติ เป็นต้น 
ซึ่งแหล่งแคลเซียม มีอยู่มากมายที่รู้จักกัน  คือ นม แต่นมต้องย่อยสลายก่อนร่างกายถึงจะดูดซึมแคลเซียมได้ แต่หลายคนมักแพ้นม การแพ้นม คือการที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายนมได้ ร่างกายจึงไม่สามารถนำแคลเซียมจากนมไปใช้ได้ หรือลำไส้ไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยนม ผลทำให้ เกิดแก๊ส แน่นท้อง ท้องเฝ้อ ปวดไมเกรน ภูมิแพ้ ท้องเสีย ท้องผูก และเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง  พบว่าคนเอเชียแพ้นมถึง 90 % คนไทยเองมีจำนวนคนแพ้นมถึง 99% กันเลยทีเดียว
แหล่งที่มาของแคลเซียมอีกที่ ที่เรารู้จักกันดี ก้คือใน ผัก แคลเซียมจากผักสามารถย่อยได้ เช่น คะน้า 1ขีด/280Mg  กระเฉด 1ขีด/390mg ฯลฯ  เป็นต้น แต่ก็มีผักหลายชนิดที่มีแคลเซียมสูงแต่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ เช่น ชะพูล 600มก /ขีดใบยอ400มก/ขีด ใบยอปัดตานี 800มก/ขีด ซึ่งเห็นว่ามีปริมาณแคลเซียมมาก แต่พืชดังกล่าว มีปริมาณออกซาเลตในปริมาณที่สูงที่ผลที่มีออกซาเลตที่สูงนั้น จะจับกับแคลเซียมเป็นแคลเซียมออกซาเลต สามารถทำให้เกิดนิ่วได้ ที่เกิดจากการจับตัวของแคลเซียมนั้นเอง
สำหรับแคลเซียมที่แพร่หลายตามท้องตลาดทั่วไป จะพบแคลเวียมในรูปแบบ
-แคลเซียมคารบอเนต มีข้อเสียคือดูดซึมได้ 10% เท่านั้น  90%ทำให้เกิด แก๊ส ท้องอืด ที่เหลือแพร่กระจายไปในเลือดกระจายไปที่ต่างๆของร่างกาย และส่วนหนึ่งขับออกทางปัสสาวะ
-เคลเซียมซิเตรต  การดูดซึมดีขึ้นคือ ดูดซึม50%   ข้อเสีย คือก็ยังตกค้างได้ถึง 50%
-แคลเซียมเอลทริโอเนต ได้จากพืช ในกระบวนการสกัดจากกระบวนการผลิตวิตามินซีจากข้าวโพด ดูดได้ดีกว่ารูปแบบอื่นถึง 9เท่า 95% จึงตกค้างในร่างกายน้อย
แต่แคลเซียมอย่างเดียวคงไม่พอเพราะกระบวนการดูซึมแคลเซียมยังต้องใช้วิตตามินอื่นเพื่อช่วงในการดูดซิม เช่น วิตตามินดี วิตามินเค2 วิตามินอี วิตตามินซี และการดูดซึมยังต้องอาศัยภาวะกรดอ่อนในร่างกายอีกด้วยเอการดูดซึมที่ดีขึ้น และการต้องการใช้วิตามินดีในการดูดซึมแคลเซียมนั้นต้องใช้ถึง วันละ 800-1000 Unit สามารถรับได้ในแสงแดดช่วงเช้า ช่วง 7-9 โมง เท่านั้น ซึ่ง2 ชั่วโมงจะได้ 200 unit กันทีเดียว ด้วยกันนั้นหากเราได้รับมากเกินไปร่างกายจะขจัดออกจากร่างกายการและยังมีภาวะที่ทำให้แคลเซียมหายไปจากร่างกายซึ่งได้แก่
1.น้ำอัดลม เนื่องจากมีฟอสพอรัสในปริมาณมาก จับตัวกันไม่ดูซึม  2.กาแฟ ปัสสาวะบ่อย  3.นิโคติน จากบุหรี่
4.วิตตามิน เอ รูปแบบเรตินอล  ฯลฯ

ดังนั้น หากต้องแนะนำการบริโภคแคลเซียนั้น ต้องดูที่ความจำเป็นและความต้องการของร่างกายแต่ละคนและภาวะโรงแต่ละคน รูปแบบแคลเซียมทมี่เหมาะสมกับคนไทยนั้น คือแคลเซียมจากพืช  ซึ่งหากได้รับต่อวันเพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเพิ่ม ก็ได้

แคลเซียมจากพืช สามารถหาเพิ่มเติมจาก
https://www.thairath.co.th/content/120402

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก


แม้มะเร็งเต้านมจะเป็นเนื้อร้ายที่ผู้หญิงเป็นมากที่สุด แต่มะเร็งที่คร่าชีวิตสาวไทยมากเป็นอันดับ 1 คือ “มะเร็งปากมดลูก” ซึ่งเฉลี่ยทำให้เสียชีวิตถึงวันละ 12 คน!! ทั้งๆ ที่เป็นมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัดก็ตาม

HPV ไวรัสตัวร้าย ก่อมะเร็งปากมดลูก
         สำหรับต้นเหตุของมะเร็งปากมดลูกนั้น มีตั้งแต่สารเคมีที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์ แต่รู้ไหมว่าตัวการหลักของมะเร็งปากมดลูกนั้นก็คือ เชื้อไวรัส เอชพีวี (Human Papilloma Virus) และที่น่ากลัวคือ ช่องทางหลักของการติดเชื้อ HPV นั้นคือการมีเพศสัมพันธ์ธรรมดาๆ นี่เอง

ไม่มีอาการเตือน...รู้ตัวอีกทีก็เป็นโรคแล้ว
         เชื้อ HPV สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัส ช่องทางหลักคือเพศสัมพันธ์ เมื่อได้รับเชื้อ HPV จะอยู่ในร่างกายและมีเวลาดำเนินโรคประมาณ 10-15 ปี และจะแสดงอาการชัดเจนเมื่ออายุ 30-60 ปี

10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก ที่คุณไม่ควรมองข้าม

1. มีเลือดออกผิดปกติ ที่ไม่ใช่ประจำเดือน
เช่น เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยะ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน

2. เลือดออกหลังวัยทอง
เช่น หญิงวัย 55 ปี หมดประจำเดือนไป 3 ปี แล้วมีเลือดออกจากช่องคลอดอีก อย่างนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

3. ตกขาวผิดปกติ
อาการตกขาวของผู้หญิงแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน การจะสังเกตว่าอาการตกขาวผิดปกติหรือไม่ ให้ใช้วิธีสังเกตจากอาการที่แตกต่างไปตนเองเคยเป็นมา เช่น ตกขาวที่ผิดปกติจะมีลักษณะเป็นหนอง กลิ่นเหม็นหรือมีลักษณะคล้ายน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด อาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน

4. ปัสสาวะขัด ปวดแสบ
อาการปวดแสบ ปัสสาวะขัด อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม อาการปัสสาวะขัด อาจเกิดขึ้นได้เสมอจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และพบได้บ่อยซึ่งยังถือว่าไม่ได้ชี้ชัดเรื่องมะเร็งปากมดลูกเลยทีเดียว เพียงแต่ไม่ควรประมาทและสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย

5. มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
อาการเจ็บขณะร่วมเพศ อาจะเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูกได่้เช่นกัน

6. ประจำเดือนมามากและนานผิดปกติ
สังเกตจากการมีประจำเดือนตามปกติ หากมีมามากกว่าที่เคยเป็น และนานกว่าที่เคยเป็น อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งปากมดลูกได้

7. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะจากสถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก มักจะจำได้ว่าเคยมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และมีเลือดปนในปัสสาวะ

8. เจ็บปวดตามร่างกาย
สัญญาณทั่วไปของมะเร็งปากมดลูก คือ อาการเจ็บปวดตามร่างกาย และเน้นโดยเฉพาะ ขา หลัง และ เชิงกราน ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมักจะมีประวัติว่าเคยมีอาการเหล่านี้ เนื่องจากมะเร็งที่แพร่กระจายส่งผลต่อระบบการหมุนเวียนของกระแสเลือด

9. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นสัญญาณเตือนได้ โดยเฉพาะหากมีอาการอื่นๆตามที่กล่าวมาข้างต้นร่วมด้วย เมื่อมีมะเร็งแพร่ขยาย ระบบการรักษาสมดุลของร่างกายจะทำงานอย่างหนักเพื่อทำการต่อต้านและกำจัดออกไป

10. น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
ตามปกติร่างกายจะสร้างโปรตีนเล็กๆชื่อว่า cytokines ทำหน้าที่กำจัดไขมันส่วนเกินเพื่อไม่ให้มีมากเกินกว่าระดับปกติ และกรณีเดียวกันนี้ เมื่อเกิดมะเร็ง ร่างกายก็จะสร้างกลไกแบบเดียวกันนี้ ทั้งที่คุณไม่ได้อดอาหาร จึงทำให้น้ำหนักลดและร่างกายซูบผอมได้

จากที่กล่าวมาข้างต้น การสังเกตควรดูองค์ประกอบหลายๆข้อรวมกัน หากพบว่ามีสัญญาณตรงกันหลายข้อ ให้พึงตระหนักว่าควรพบแพทย์แต่เนิ่นๆ


ขอขอบคุณเนื้อหา : teenee.com , phyathai.com

ขอขอบคุณภาพที่มา : 
healthylandshop.com

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

น้ำมันตับปลา

น้ำมันตับปลา

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

ประโยชน์ของน้ำมันตับปลาน้ำมันตับปลา จัดเป็นอาหารเสริมชนิดแรก ๆ ที่ได้เข้ามามีบทบาทในวงการสุขภาพของไทยมาหลายปีแล้ว ซึ่งถ้าพูดถึงน้ำมันตับปลาแล้ว หลาย ๆ คงก็พอจะคุ้นหูกันบ้างแหละ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าน้ำมันตับปลามันคืออะไร มันมีสรรพคุณและประโยชน์อย่างไร มีโทษมีผลเสียอะไรหรือไม่ แล้วมันแตกต่างกับน้ำมันปลายังไง แล้วที่สำคัญมันใช้ได้ผลดีจริงหรือไม่ ? วันนี้เราจึงได้นำเรื่องราวของน้ำมันตับปลามาฝากเพื่อน ๆ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้กันครับ
น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดหนึ่งที่มีสารพัดยี่ห้อไม่ว่าจะอยู่ใรูปของซอฟต์เจล แคปซูล หรือน้ำก็ตาม โดยสกัดมาจากตับของปลาทะเล ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญหรือวิตามินที่สำคัญนั่นก็คือวิตามินเอและวิตามินดี โดยนิยมใช้ในเด็กและวัยทั่วไปเพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกและช่วยเสริมสุขภาพ การรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมนั้นจะได้รับประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าการรับประทานในปริมาณมากเพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากมีปริมาณของวิตามินเอสูง อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเด็กทารกในครรภ์ได้
น้ํามันตับปลากับน้ํามันปลา ต่างกันอย่างไร แล้วมันเหมือนกันหรือไม่ ? น้ำมันตับปลาสกัดมาจากตับของปลาทะเลตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ส่วนน้ำมันปลา (Fish oil) นั้นเป็นน้ำมันที่สกัดมาจากหัว หนัง เนื้อ และหางของปลาทะเล และยังมีความแตกต่างในเรื่องของคุณค่าทางอาหารอีกด้วย โดยน้ำมันตับปลาจะอุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามิดี ส่วนน้ำมันปลานั้นจะอุดมไปด้วยโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 สรุปก็คือมันไม่เหมือนกันครับ และประโยชน์ก็แตกต่างกัน
โทษของน้ำมันตับปลา : การรับประทานน้ำมันตับปลาในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะทำให้เกิดพิษจากวิตามินเอได้ เช่น มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มีผลต่อระบบประสาท ทำให้ตับถูกทำลาย หิวน้ำ ปัสสาวะบ่อย และอาจทำให้ผมร่วง ผิวแห้งได้อีกด้วย ส่วนการได้รับวิตามินดีสะสมมากจนเกินไปนั้นก็อาจจะมีผลเสียต่อระบบเลือดได้เช่นกัน อาจทำให้ไตวายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงไม่แนะนำให้ซื้อมาให้เด็กรับประทานเป็นประจำและในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสั่ง เพราะยาจะสะสมในร่างกายมากจนเกินไปและทำให้เกิดอันตรายได้ (อ้างอิง : ภญ.วิภาจรี นวสิริ เภสัชกร สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)
รู้ไว้ใช่ว่า : น้ำมันตับปลามีสารบางอย่างที่มีผลต่อการทำงานของเกล็ดเลือด โดยทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติเหมือนกับยาแก้ปวดอย่างแอสไพริน ถ้าหากคุณรับประทานน้ำมันตับปลาเป็นเป็นประจำและจะต้องเข้ารับการผ่าตัด คุณควรบอกแพทย์ให้ละเอียดถึงการรับประทานยา และจะต้องหยุดยาก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 10 วัน เพื่อให้เกล็ดเลือดตัวใหม่สมบูรณ์ เพื่อป้องกันอาการเลือดไหลไม่หยุดหรือออกมามากกว่าปกติ (อ้างอิง : พ.อ.รศ.นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล)

ประโยชน์ของน้ำมันตับปลา

  1. วิตามินดีช่วยเสริมการทำงานของธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัสได้เป็นอย่างดี จึงช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
  2. ช่วยป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็ก ฟันผุขั้นรุนแรง โรคกระดูกน่วม ภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
  3. วิตามินดีช่วยในการดูดซึมของวิตามินเอในน้ำมันตับปลาได้เป็นอย่างดี
  4. วิตามินดีสามารถช่วยรักษาโรคเยื่อบุตาอักเสบได้
  5. เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องผิวหนัง และดวงตาจากการถูกทำลายจากมลพิษ
  6. ประโยชน์น้ำมันตับปลา มีส่วนช่วยขับล้างสารพิษในร่างกาย
  7. สรรพคุณน้ำมันตับปลาช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการสมานแผล
  8. ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. วิตามินเอช่วยลดระยะเวลาการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
  10. ช่วยบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย โดยเฉพาะอาการของโรคข้อต่ออักเสบ (ไอส์ลา บอสเวิร์ธ แห่งสถาบันวิจัยโรคข้อต่อแห่งชาติ)
  11. การใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งแผนปัจจุบัน สามารถช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง ป้องกันการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
  12. ช่วยลดอาการข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี

เนื่อหา ภาพ ทั้งหมด มาจาก     www.medthai.com
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การนอนกรน (Snoring) ป้องกัน รักษาได้


ภาวะนอนกรน (Snoring) 

นอนกรน (Snoring) คือภาวะที่มีเสียงแหบ ๆ หรือเสียงผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหายใจในขณะนอนหลับ เกิดขึ้นจากการถูกปิดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน และจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย การนอนกรนที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น นอนตะแคง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน โดยการนอนกรนส่งผลต่อทั้งสุขภาพของผู้ที่นอนกรนเองและรบกวนบุคคลที่นอนข้าง ๆ นอนกรนพบได้มากในเพศชาย และจะมีอาการหนักขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
นอนกรน
อาการนอนกรน
        นอนกรนมักเกิดขึ้นในช่วงของการหลับลึกและจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย โดยมีเสียงเกิดขึ้นที่บริเวณลำคอระหว่างหายใจเข้าในขณะนอนหลับ พบได้ในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง ส่วนมากผู้ที่นอนกรนมักเกิดอาการร่วมกันระหว่างทางเดินหายใจถูกปิดกั้นและอวัยวะภายในลำคอสั่น เสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น หากเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังของโพรงจมูกสั่นจะทำให้เกิดเสียงขึ้นจมูก หรือหากเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นจะทำให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นในลำคอ เป็นต้น
ความรุนแรงของการนอนกรน แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
  • ความรุนแรงระดับ 1 คือการนอนกรนทั่วไป ไม่บ่อย และมีเสียงไม่ดังมาก การนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อการหายใจในขณะนอนหลับ แต่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของบุคคลที่นอนข้าง ๆ
  • ความรุนแรงระดับ 2 คือการนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้อาจส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลางในขณะนอนหลับ และส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน  
  • ความรุนแรงระดับ 3 คือการนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย อาจทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นเวลาประมาณ 10 วินาที ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA) คืออะไร

          ในขณะหลับ นอกจากเกิดอาการกรนแล้ว ยังพบว่า อาจมีการหยุดหายใจร่วมด้วย เมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายจะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบขึ้นจนกระทั่งปิดสนิท คล้ายกับการดูดชิ้นของอาหารด้วยหลอด ชิ้นของอาหารจะติดที่ปลายหลอด ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้ อาหารในที่นี้เปรียบเสมือนอากาศนั่นเอง เมื่ออากาศไม่สามารถผ่านทางเดินอากาศที่ปิดสนิท ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง เพื่อปรับตำแหน่งของลิ้นใหม่ ในวงรอบของการนอน อาจมีการกรนและภาวะหยุดหายใจหลายครั้ง เป็นผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่เพียงพอและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่ ควรไปพบแพทย์หากพบอาการต่อไปนี้ร่วมกับการนอนกรน
  • กรนเสียงดัง
  • ง่วงมากในตอนกลางวัน
  • ปวดศีรษะในตอนเช้า
  • คอแห้ง เจ็บคอ
  • สมาธิและความจำลดลง
  • นอนกระสับกระส่าย
  • สำลัก หรือเจ็บหน้าอกในตอนกลางคืน
  • ความดันโลหิตสูง

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลั

          ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความรุนแรงของอาการอยู่ในระดับน้อย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิตอาจช่วยให้ดีขึ้น เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย งดดื่มสุราหรือรับประทานอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง หากผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวในระดับปานกลางถึงมาก จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อคอ ขากรรไกร ลิ้น หรือลิ้นไก่ เพื่อช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น การใช้เครื่องเป่าลมในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ [continuous positive airway pressure (CPAP) titration] ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีสุดในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องมือในช่องปากอีกด้วย ในการเลือกใช้วิธีในการรักษาใด ๆ ก็ตาม จะพิจารณาจากทั้งความรุนแรง ความเหมาะสม ความร่วมมือของผู้ป่วย ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ วินิจฉัย ตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจสอบการนอนหลับ (polysomnography) เพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและดูระดับความรุนแรงของโรค

สาเหตุของนอนกรน

นอนกรนเป็นผลมาจากทางเดินหายใจตอนบนตีบแคบลงหรือถูกปิดกั้น ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
  • ทางเดินหายใจบริเวณจมูกถูกปิดกั้น พบได้ในผู้ป่วยภูมิแพ้ ผู้ป่วยไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยริดสีดวงจมูก หรือผู้ที่มีโครงสร้างของจมูกผิดปกติ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เป็นต้น
  • ลิ้นและกล้ามเนื้อที่ลำคอหย่อนคลายตัว ทำให้ถอยกลับไปปิดกั้นทางเดินหายใจ พบได้ในผู้ที่หลับลึก ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากโดยเฉพาะในช่วงก่อนนอน ผู้ที่ใช้ยานอนหลับ รวมถึงผู้สูงอายุ
  • เนื้อเยื่อที่ลำคอมีขนาดใหญ่ พบได้ในคนอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก คอหนาหรือมีขนาดของรอบคอมากกว่า 43 เซนติเมตร ผู้ที่มีต่อมทอนซิลหรือต่อมแอดีนอยด์โต
  • เพดานอ่อนหรือลิ้นไก่ยาว ทำให้ทางเดินหายใจหลังจมูกและลำคอตีบแคบลง และเมื่อเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นหรือชนกันจะไปปิดกั้นทางเดินหายใจ
การวินิจฉัยนอนกรน
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ที่นอนกรน หรือตรวจร่างกาย หากแพทย์สงสัยว่าจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติในช่องปากของผู้ที่นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรง เพื่อหาทางรักษาต่อไป หรือผู้ที่นอนกรนในระดับที่รุนแรง แพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้
  • การเอกซเรย์ (X-Rays) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติหรือโครงสร้างของทางเดินหายใจ
  • การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test หรือ Polysomnography) แพทย์อาจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการนอนกรน ปัญหาสุขภาพ หรือปัญหาการนอนหลับอื่น ๆ อาจต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนอนหลับโดยผู้เชี่ยวชาญ จะมีการติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจจับและบันทึกสัญญาณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลื่นสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด ระยะของการนอนหลับ การเคลื่อนไหวของดวงตา การเคลื่อนไหวของขาขณะนอนหลับ เป็นต้น
การรักษานอนกรน
เบื้องต้นแพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สำหรับผู้ที่นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรง เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนเข้านอน เปลี่ยนท่านอนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง เป็นต้น ส่วนผู้ที่นอนกรนในระดับรุนแรงหรือมีสาเหตุการกรนมาจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ แพทย์อาจมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถบรรเทาการนอนกรนได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น
    • อุปกรณ์ช่วยลดกรนทางจมูก เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก เช่น แผ่นแปะจมูก (Nasal Strip) มีลักษณะเป็นเทปกาวขนาดเล็กแปะที่บริเวณปีกจมูกทั้งสองข้าง
    • อุปกรณ์ช่วยลดกรนทางปาก เช่น แผ่นแปะคาง (Chin Strip) มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเทปแปะที่บริเวณใต้คางเพื่อป้องกันการอ้าปากในขณะนอนหลับ เป็นต้น
    • เครื่องช่วยจัดตำแหน่งของขากรรไกรล่าง (Mandibular Advancement Device: MAD) จะช่วยเพิ่มพื้นที่หลังของลำคอและป้องกันการตีบแคบของทางเดินหายใจซึ่งจะทำให้ลิ้นสั่นในขณะหายใจและเกิดเสียงกรนได้
  • การผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถบรรเทาการนอนกรนได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนได้ เช่น
    • การผ่าตัดกระชับเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และผนังคอหอย (Uvulopalatopharyngoplasty: UPPP) ในบางกรณีอาจมีการผ่าตัดต่อมทอนซิลและต่อมแอดีนอยด์ร่วมด้วย อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการพูดไม่ชัดหลังการผ่าตัด หรือเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอย่างอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ประมาณ 1% เช่น เลือดออกมาก ปอดติดเชื้อ หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
    • การผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อนและลิ้นไก่โดยใช้เลเซอร์ (Laser-Assisted Uvulopalatoplasty: LAUP) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งแต่ในระยะยาวอาจให้ผลลัพธ์ได้ไม่ดีเท่าการผ่าตัดกระชับเนื้อเยื่อบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ และผนังคอหอย
    • การผ่าตัดเพดานอ่อน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อและลดการสั่นของเพดานอ่อนในขณะนอนหลับ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัดด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency Ablation: RFA) ด้วยการใช้คลื่นวิทยุทำให้เนื้อเยื่อแข็งแรงขึ้น หรือการฝังพิลลาร์ (Pillar Procedure) โดยฉีดเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ที่เพดานอ่อน
  • การใช้ยา เพื่อรักษาที่ต้นเหตุของการนอนกรน เช่น ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) ในการบรรเทาอาการบวมและระคายเคืองในจมูกของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้คัดจมูก (Nasal Decongestant) แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้
ภาวะแทรกซ้อนของนอนกรน
นอนกรนนอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับบุคคลที่นอนข้าง ๆ แล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
  • หยุดหายใจชั่วคราว อาจนานไม่กี่วินาทีหรือนานเป็นนาทีในขณะนอนหลับ มีสาเหตุมาจากทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมด
  • นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกหลายครั้ง ที่อาจรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำให้รู้สึกง่วงนอนในระหว่างวัน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและประสิทธิภาพในการขับขี่ยานพาหนะ
  • ความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง หากเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นเวลานาน
การป้องกันนอนกรน
นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรงสามารถบรรเทาและป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้
  • ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จะช่วยให้การนอนกรนลดลงได้
  • นอนตะแคง การนอนหงายเพิ่มโอกาสให้ลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจ วิธีแก้ ลองเย็บกระเป๋าเล็ก ๆ ที่ด้านหลังเสื้อนอน แล้วใส่ลูกเทนนิสลงไป หากกังวลว่าจะกลับมานอนหงายในระหว่างการนอนหลับ
  • นอนหมอนสูง โดยใช้หมอนรองให้ศีรษะสูงขึ้นประมาน 4 นิ้ว
  • ใช้แผ่นแปะจมูกหรือตัวถ่างจมูกในขณะนอนหลับ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • ลดการปิดกั้นของทางเดินหายใจในจมูก ในผู้ป่วยภูมิแพ้หรือผนังกั้นช่องจมูกคดจะหายใจทางจมูกไม่สะดวกจึงต้องหายใจทางปาก ทำให้เพิ่มโอกาสในการนอนกรนได้มากขึ้น
  • ลดปริมาณหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาระงับประสาท เพื่อลดโอกาสที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอคลายตัวและปิดกั้นทางเดินหายใจ
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้คัดจมูก และหายใจไม่สะดวก
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เด็กก่อนวัยเรียนควรนอนประมาณ 11-12 ชั่วโมงต่อวัน เด็กในวัยเรียนควรนอนอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่นควรนอนประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน และผู้ใหญ่ควรนอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน


    ข้อมูล บทความ ภาพ และเนื่อทั้งหมด มาจาก https://www.pobpad.com และ 
    www.bangkokhospital.com

วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

หายโรคกรดไหลย้อน แค่กินกระเทียมวันละ 5 กลีบ

กระเทียม

มีประโยชน์ต่อร่างกายมาก และเป็นสมุนไพรที่สำคัญในการปรุงอาหารของไทยเรามากๆขาดกระเทียมไม่ได้เลย อะไร ๆ ก็ต้องใส่กระเทียมถึงจะอร่อยนะคะ การใช้กระเทียมให้พอดีพอเหมาะต่อครั้งปฏิบัติให้ถูกตามที่กล่าว ร่างกายก็จะไม่มีอะไรแทรกซ้อนเกิดเจ็บป่วยขึ้นได้ แต่จะได้ผลดีต่อการใช้ได้มาก กระเทียมคู่ครัวไทยใช้ง่ายและสะดวก หาซื้อได้ง่ายราคาไม่แพง เป็นยาที่รักษาโรคได้วันละ 5-7 กลีบ ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วยก็กินได้ทุกวันนะคะ

วิธีรับประทาน
ให้กินกระเทียมสด 5- 7 กลีบ/วัน เป็นประจำโดยสับให้ละเอียดกินวันละประมาณ 2 ช้อนชา ( 10 กรัม) กินร่วมกับอาหารอื่นๆ กระเทียมเป็นสมุนไพรที่ใช้ปรุงอาหารในครัวเรือนมีรสค่อนข้างเผ็ดร้อน ระคายเคืองกระเพาะ หากกินกระเทียมสดต้องกินพร้อมอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อ ไข่

(สามารถสั่งซื้อได้ทาง https://www.facebook.com/Bangbon5pharma หรือ Line ID:@bb5pharmacy (มี@นำหน้าด้วยนะคะ)
กระเทียมเป็นที่ยอมรับกันว่า สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ เพราะจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม กระเพาะปัสสาวะ ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และปอด โดยไปเพิ่มอัตราการขับสารก่อมะเร็ง ป้องกันไม่ให้สารก่อมะเร็งจับตัวกับ DNA จนไปเพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็ง และยังช่วยให้กระบวนการกระตุ้นภูมิต้านทาน ลดอาการเป็นกรดไหลย้อน ลดอาการข้างเคียงของยารักษามะเร็งได้

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
  • ลดความดันโลหิตสูง
  • ลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด
  • ลดความหนืดของเลือด
  • ลดน้ำตาลในเลือด
  • ต้านมะเร็ง
  • ขับลม
  • ลดการอักเสบ
  • มานแผล
  • แก้เกาท์
  • เพิ่มภูมิคุ้มกัน
  • ลดอากากรดไหลย้อน
สอบถามเพิ่มเติมที่ร้านขายยา
  — ที่ ร้านขายยาบางบอน5เภสัช
ขอบพระคุณแหล่งที่มา : www.aufarm91.com

การปกป้องผิวจากแสงแดด เราไม่ควรละเลยการทาครีมกันแดด โดยควรเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดที่ปกป้องผิวจาก UVA และ UVB
สังเกตได้จาก ค่า PA ที่มีคุณสมบัติปกป้องผิวจาก UVA ส่วน ค่า SPF จะป้องกัน UVB
แต่ทั้งค่า PA และ SPF ต่างก็มีแยกย่อยออกเป็นหลายชนิด และความแตกต่างนั้นบ่งบอกถึงประสิทธิภาพที่ต่างกัน เริ่มจาก ค่า PA ที่มักจะมีให้เห็น อาทิ PA+, PA++, PA+++
สำหรับความหมายของ + ที่ติดมากับค่า PA คือความสามารถปกป้องผิวจากยูวีเอ แบบเท่าตัว กล่าวคือ เครื่องหมายบวกเดียว เท่ากับการป้องกันยูวีเอ 2 เท่า เครื่องหมายบวกสองตัว คือ ปกป้อง 4 เท่า และสามบวก คือ ป้องกันยูวีเอ 8 เท่า
รังสียูวีมี 2 ประเภท คือ UVA และ UVB ขออธิบายให้เห็นความแตกต่างของรังสีทั้ง 2 ประเภทอย่างง่ายๆ ว่า;
UVA เป็นรังสียูวีที่ตกกระทบมายังโลกมากถึง 90% และรังสี UVA นี่เองที่เป็นสาหตุของการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ และริ้วรอย ส่วน UVB นั้นเป็นรังสีความถี่สั้นจึงทำร้ายผิวได้เพียงผิวชั้นนอกเท่านั้น รังสี UVB ทำให้ผิวหมองคล้ำ และแสบแดง
คราวนี้เราทำความรู้จักกับ SPF และ PA กันดีกว่าค่ะ…เริ่มจากการอ่านค่า PA ก่อนเลยนะคะ ปกติเราจะเห็นคำว่า PA+, PA++ และ PA+++ ระบุอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด…ความหมายของ ‘+’ ที่ติดมากับค่า PA หมายถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากยูวีเอแบบเท่าตัว พูดง่ายๆ คือเครื่องหมายบวกตัวเดียวจะเท่ากับการป้องกันยูวีเอ 2 เท่า, เครื่องหมายบวกสองตัว หมายถึงการป้องกันยูวีเอ 4 เท่า (2 x 2) และเครื่องหมายบวกสามตัว หมายถึงการป้องกันยูวีเอ 8 เท่า (2 x 2 = 4 x 2 =…)
มาต่อกันที่ SPF บ้าง….SPF ย่อมาจากคำว่า Sun Protection Factor ส่วนค่า SPF ที่มีตัวเลขต่อท้าย อาทิ SPF10, SPF15, SPF 60 นั้นสามารถนำมาคำนวณระยะเวลาในการปกป้องผิวจากยูวีบี โดยนำตัวเลขส่วนท้ายคูณด้วย 10* ผลลัพธ์ที่ได้หมายถึงจำนวนนาทีที่ครีมกันแดดชนิดนั้นจะป้องกันยูวีบีได้ เช่น SPF10 นำ 10×10 เท่ากับ 100 นาที
*ตัวเลขที่จะใช้คูณนั้นแต่ละคนไม่เท่ากันนะคะ ให้สังเกตุตัวเองว่าเราอยู่กลางแดดได้กี่นาทีแล้วไม่รู้สึกแสบค่ะ เราเองเป็นคนผิวค่อนข้างขาว และเป็นกระง่าย
อยู่กลางแดดได้ประมาณ 10 นาที ก็รู้สึกแสบและแดงแล้ว
หากต้องการคำนวณประสิทธิภาพในการกรอง UVB จากค่า SPF ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยใช้สูตร (1/SPF)*100% ผลลัพธ์ที่ได้คือประสิทธิภาพในการกรอง UVB เช่น SPF40 คำนวณโดย (1/40)*100% = 2.50 หมายถึงครีมตัวนี้ปกป้องยอมให้ UVB ผ่านมายังผิวเรา 2.50% หรืออาจพูดได้ว่าครีมตัวนี้ป้องกัน UVB ได้ 97.50% (100% – 2.50%) นั่นเอง
ตารางข้างล่างนี้เป็นชื่อของส่วนผสมที่มีความสามารถในการกรองรังสี UVA & UVB ซึ่งองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ FDA (Food and Drug Administration) อนุญาตให้ใส่ลงในเครื่องสำอางและสกินแคร์ต่างๆได้ (source: wikipedia)
สำหรับการทากันแดดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั่นก็คือ
Physical กับ Chemical Sun-screen 
Physicalหรือครีมกันแดดชนิดกายภาพ เป็นสารที่ช่วยสะท้อนแสงออกไป ซึ่งอาจจะทำให้ดูขาววอก ส่วน Chemical Sun-screen จะทำการดูดซับรังสี UV แทนผิว แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นสารควบคุมให้ใช้ในปริมาณที่จำกัด ตามกฏหมวยเครื่องสำอางค์ควบคุม
ครีมกันแดดที่อ้างว่ากันน้ำ หรือกันเหงื่อ ไม่ได้หมายความว่ามันจะกันได้ตลอด เมื่อเหงื่อออก ลงน้ำ หรืออะไรก็ตาม สารเคมีที่เป็นตัวกันแดดจะเสื่อมลง หลายๆ ครั้ง มันก็ยังเหนียวหนึบติดผิวเราอยู่ คือ พอถูกน้ำประสิทธิภาพในการกันแดดจะลดลง โดยส่วยมากแล้ว คำว่า Waterproof หรือ Water Resistant จะทนน้ำได้ไม่เกิน 60 นาที ก็เสื่อมแล้ว ส่วน Very Water Resistant จะอยู่ได้ไม่เกิน 80 นาทีแค่นี้เอง
ดังนั้นเพื่อให้เราสามารถปกป้องผิวจากรังสียูวีที่จ้องจะทำร้ายผิวเรา ก็ควรเลือกครีมกันแดดที่สามารถป้องกันและกรองรังสียูวีอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่เราหาได้