ภาพจาก: http://tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=520 |
โรคเหาที่หนังศีรษะ (Pediculosis capitis) พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน (เพราะเด็กนักเรียนจะวิ่งเล่นใกล้ชิดกันมาก) โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงและคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด บางคนไม่มีอาการมากเท่าใด แต่อาจสร้างความรำคาญได้
สาเหตุของการเกิด:
พฤติกรรมของเหา:
เป็นการติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact) เช่น การใช้หวี แปรง ร่วมกัน การใช้หมวก ร่วมกัน การใช้หมอน ที่นอนร่วมกัน จากศีรษะคนหนึ่งไปที่ศีรษะอีกคนหนึ่งเพราะฉะนั้นจึงมักพบระบาดในโรงเรียน ได้บ่อย เพราะเด็กนักเรียนจะวิ่งเล่นใกล้ชิดกันมาก
วงจรชีวิตของเหา:
ไข่เหา: ตลอดชีวิตแม่เหาหรือโลน 1 ตัว วางไข่ได้ดังนี้
- เหาหัว 50-150 ฟอง
- เหาตัว 270-300 ฟอง
- โลน ประมาณ 26 ฟอง
- ฟักภายใน 7 - 10 วัน มีสีขาวขุ่น อยู่ติดกับโคนผมหรือขน
- เหาตัว 270-300 ฟอง
- โลน ประมาณ 26 ฟอง
- ฟักภายใน 7 - 10 วัน มีสีขาวขุ่น อยู่ติดกับโคนผมหรือขน
ตัวกลางวัย- ลอกคราบ 3 ครั้ง ใช้เวลาในการเจริญเติบโต 7 - 13 วัน
ตัวเต็มวัย- ผสมพันธุ์และวางไข่ภายใน 1 - 2 วัน มีอายุ 2 - 4 สัปดาห์
เหาคนมี 3 ชนิด
เหาหัว - อาศัยอยู่บนศีรษะ ดูดเลือดจากศีรษะ และทำให้คัน เกิดการอักเสบ เป็นแผลติดเชื้อ
เหาตัว - อาศัยอยู่ตามขนบริเวณลำตัวและตะเข็บเสื้อผ้า นอกจากดูดเลือดและทำให้คันแล้ว ยังเป็นตัวการนำโรคหลายชนิด เช่น epidemic typhus, trench fever, relapsing fever
โลน - อาศัยอยู่ตามขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดอาการคันรุนแรงมาก
อาการของการเกิดโรคเหา :
จะมีอาการคันที่บริเวณด้านหลังและด้านตรงศีรษะ ถ้าเกามากเป็นหนอง สะเก็ดแห้งกรัง ได้ บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณท้ายทอย และข้างคอโตได้ ในทางตรงกันข้าม บางคนอาจจะไม่มีอาการใดมาก ไม่คันมาก
เหาจะพบบ่อยที่ศีรษะด้านท้ายทอย หลังหู อาจลามมาที่คิ้ว คอ ได้ แต่พบน้อย
การตรวจร่างกาย :
ตัวเหาบนศีรษะ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจใช้แว่นขยายช่วยส่องดู ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีตัวเหาบนศีรษะน้อยกว่า 10 ตัว น้ำลายของตัวเหาจะมีสารซึ่งระคายเคืองผิวหนังได้ ทำให้เกิดตุ่มคันตรงรอยกัด
วิธีการรักษาเหา :
-การโกนผม จะช่วยได้มาก และสะดวกดี ไม่สิ้นเปลือง แต่เด็ก จะอายเพื่อนฝูง
-การใช้หวีเสนียด คือ หวีซึ่งมีซี่ของหวีถี่มากใช้สางผมทำให้ทั้ง ตัวเหาและไข่เหา หลุดติดกับหวีออก มาได้
-การใช้ยาฆ่าเหา ชื่อทางการค้าว่า จาคูติน (Jacutin) ใช้ทา ศีรษะ ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ล้างออกใช้ทา ติดต่อกัน 3 วัน
-การใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเกิดขึ้น
-ยากินกลุ่มแอนติฮีสตามีน ใช้กินเพื่อระงับอาการคัน
ยาที่ใช้บ่อย Malathion, Benzyl alcohol lotion
สมุนไพรรักษาโรคเหา :
ขนานที่ 1 ใช้น้ำส้มสายชูชะโลมศีรษะ เอาผ้าโพกหว้สักครึ่งชั่วโมงค่อยสระผม แล้วเอาหวีถี่ ๆ สางเอาตัวและไข่เหาออก หลังจากนั้น 2 อาทิตย์ทำอีกครั้งหนึ่ง และหลังจากนั้นอีก 2 อาทิตย์ จึงทำอีกครั้งหนึ่ง น้ำส้มสายชูทำให้ไข่เหาร่วงหลุดไปได้ (ให้ใช้น้ำส้มสายชูแท้เท่านั้น)
ขนานที่ 2 เอาผลมะกรูดใบใหญ่ที่แก่จัดน้ำมาก นำไปเผาไฟหรือย่างไฟให้สุก ทิ้งไว้ให้เย็น เอามาคลึงให้มีน้ำมาก ๆ ผ่าครึ่งบีบน้ำลงบนหัวขยี้ให้ทั่ว ใช้หวีถี่ ๆ สางเส้นผม จะมีไข่เหาติดออกมา ทำอาทิตย์ละครั้ง ทำทั้งหมด 3 ครั้ง
ขนานที่ 3 เอาใบน้อยหน่ามา 5-8 ใบ โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำและทาผมให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สักครึ่งชั่วโมง จึงล้างน้ำออก ฟอกด้วยยาสระผมอีกครั้งหนึ่ง แล้วใช้หวีถี่ ๆ สางเอาตัวและไข่เหาออก
ข้อควรระวัง อย่าให้น้ำน้อยหน่าเข้าตา เพราะจะแสบตามาก
ขนานที่ 4 เอาใบสะเดาแก่ ๆ สัก 2-3 กำมือ โขลกให้ละเอียด ผสมน้ำพอเหลวนิดหน่อย ทาผมให้ทั่วปล่อยให้แห้ง แล้วค่อยสระผมด้วยแชมพู
ขนานที่ 5 เอาลูกบวบขมแกะเปลือกออก เอาน้ำในลูกบวบขมทาผมให้ทั่ว ทิ้งไว้สัก 2-3 นาที
ขนานที่ 6 ใช้ผลมะตูมสุกมาผ่า เอายางจากผลมะตูมสุกทาผม แล้วหวีให้ทั่ว ปล่อยไว้ให้แห้ง เหาจะตายหมดแล้ว ล้างน้ำ ต่อจากนั้นจึงหวีออก
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก http://tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=520
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น