ยา (medicine) คือ สารเคมีหรือสารอื่น ๆ ที่ใช้ในการบำบัดป้องกันและรักษาโรคในคนและสัตว์ ดังนั้นอะไรก็ตามที่จัดว่าเป็นยา จึงมีด้วยกันมากมายหลายชนิด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ายาทุกชนิดเป็นสารพิษต่อร่างกาย ถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ไวตามินซี ถ้าใช้ขนาดสูงก็อาจจะมีผลทำให้เกิดนิ่วในไตและทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ได้ ยาจึงไม่ใช่สิ่งที่ควรหยิบกินเองโดยไม่มีเหตุผล ยาส่วนใหญ่ที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีห้องทดลองและได้จากของที่เป็นธรรมชาติ เช่น จากพืช จากอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของสัตว์ เป็นต้น ตัวอย่างของยาที่สกัดจากพืช เช่น มอร์ฟีน ที่สกัดมาจากยางของผลฝิ่นดิบ
ประเภทของยา
ประเภทของยา อาจแบ่งตามชนิดที่มีลักษณะหรือข้อกำหนดต่าง ๆ เช่นแบ่งตามการผลิตยา ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ยาสำเร็จรูป ได้แก่ ยาที่บริษัทต่าง ๆ ได้ผลิตขึ้นและจดทะเบียนไว้กับทางราชการ ยาพวกนี้มีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น ยาเม็ด ยาน้ำ หรือยาฉีด เป็นการสะดวกแก่แพทย์ที่จะสั่งใช้
2. ยาผสม คือ ยาที่แพทย์สั่งให้เภสัชกรผสม โดยมากสั่งให้เฉพาะบุคคลการผสมยาพวกนี้มีตามโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใหญ่ ๆ ที่มีเภสัชกรปฏิบัติงานเป็นประจำ
2. ยาผสม คือ ยาที่แพทย์สั่งให้เภสัชกรผสม โดยมากสั่งให้เฉพาะบุคคลการผสมยาพวกนี้มีตามโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลใหญ่ ๆ ที่มีเภสัชกรปฏิบัติงานเป็นประจำ
แบ่งตาม พ.ร.บ. ควบคุมยา ซึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. ยาสามัญประจำบ้านหรือยาแผนปัจจุบัน เป็นยาที่ประชาชนทั่วไปหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ มักใช้กับโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก ไม่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจ เช่น ปวดศีรษะ ท้องอืด เป็นต้น แต่หากอาการเหล่านี้ไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์
2. ยาอันตราย เป็นยาสำเร็จรูปที่ใช้ในการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยมีตัวยาหลายชนิด แต่ละชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ต้องระมัดระวังรอบคอบ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้เสมอ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้เป็นยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ
3. ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาที่มีอันตรายมาก ฤทธิ์ของยาที่สำคัญและร้ายแรงมากบางชนิด เป็นยาเสพติดให้โทษ ถ้ากินเข้าไปนานจะเกิดการติดยา เช่น ยานอนหลับประเภทต่าง ๆ ยาระงับประสาท หรือยากล่อมประสาทบางชนิด
2. ยาอันตราย เป็นยาสำเร็จรูปที่ใช้ในการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยมีตัวยาหลายชนิด แต่ละชนิดมีทั้งคุณและโทษ การใช้ต้องระมัดระวังรอบคอบ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้เสมอ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้เป็นยาอันตราย เช่น ยาปฏิชีวนะ
3. ยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาที่มีอันตรายมาก ฤทธิ์ของยาที่สำคัญและร้ายแรงมากบางชนิด เป็นยาเสพติดให้โทษ ถ้ากินเข้าไปนานจะเกิดการติดยา เช่น ยานอนหลับประเภทต่าง ๆ ยาระงับประสาท หรือยากล่อมประสาทบางชนิด
ยาอันตรายที่ควรทราบ คือ “ยาปฏิชีวนะ” ซึ่งเป็นยาที่ได้จากเชื้อราหรือแบคทีเรียบางชนิด ที่สามารถหยุดยั้งการเจริญและทำลายแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์อื่น ๆ โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อของยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบหรือยาแก้หนอง ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่เพิ่งจะเริ่มใช้กันอย่างกว้างขวางเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันยาประเภทนี้ได้ทวีความสำคัญขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และนิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากยาปฏิชีวนะสามารถรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับแบคทีเรียได้มากมายและมีประสิทธิภาพ บางขนานยังใช้รักษาโรคที่เกิดขึ้นกับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ อีก เช่น เชื้อบิด เชื้อรา และไวรัสและยังใช้รักษาโรคมะเร็งบางชนิดได้ด้วย การใช้ยาปฏิชีวนะจำเป็นต้องศึกษาชนิดของเชื้อโรคให้แน่เสียก่อน ยาอย่างไหน ขนาดใด จึงจะเหมาะกับชนิดของเชื้อโรคนั้น เป็นเรื่องของแพทย์โดยเฉพาะไม่สมควรที่จะหายาเหล่านี้มารักษาเองเป็นอันขาด
หลักกว้าง ๆ ในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะ คือ เลือกใช้ยาปฏิชีวนะให้ถูกกับชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นต้นเหตุของโรคนั้น ๆ ใช้ยาปฏิชีวนะในขนาดสูงพอที่จะทำลายเชื้อ ระยะเวลาที่ให้ยาปฏิชีวนะ ควรจะนานพอที่จะทำลายเชื้อได้หมด โดยทั่วไป ยาปฏิชีวนะที่นำมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อเป็นยาที่มีพิษน้อยแต่พิษของมันอาจจะเกิดรุนแรงขึ้นถ้านำไปใช้อย่างผิด ๆ
อันตรายที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ผู้ป่วยที่แพ้ยานั้น อาจเกิดผื่นขึ้นหรือถึงกับช็อคตายหรืออาจเกิดจากพิษของยาโดยตรง เช่น ยาบางอย่างเป็นพิษต่อไต นอกจากนี้ยาปฏิชีวนะยังมีผลทางอ้อม ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนหรือซ้ำเติมได้ พวกนี้มักเกิดในรายที่ใช้ยาออกฤทธิ์กว้าง ยาจะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายตายหมด เหลือแต่ตัวที่ดื้อยาเท่านั้น อาการที่พบบ่อย คือ อาการท้องเดินหรือราขึ้นในปาก อาการที่รุนแรง คือ ตาย ซึ่งพบได้บ่อย ยาปฏิชีวนะที่ผู้ป่วยซื้อใช้กันเองมาก คือ ยากลุ่มเตตร้าซัยคลิน ซึ่งเป็นพิษต่อตับ ทำให้เกิดท้องเดิน เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ
ไม่ควรใช้ จะทำให้ฟันเหลืองและผุได้ง่ายและกระดูกที่กำลังสร้างกร่อนไปและยาคลอแรมเฟนิคอล จะลดไขกระดูก ทำให้มีอาการซีด เลือดออกตามตัว เม็ดเลือดขาวลดลง เกิดการติดเชื้อง่าย รองลงมาคือ ยากลุ่มสเตร็ปโตมัยซิน ซึ่งยานี้ให้โดยการฉีด ปัจจุบันมีประโยชน์น้อยมาก เชื้อส่วนใหญ่ดื้อต่อยานี้ มีใช้มากในพวกที่เป็นวัณโรค ยากลุ่มเพนิซิลิน หากแพ้ยานี้จะเกิดผื่นขึ้นตามตัวหรือมีไข้ มีอาการซีด อาจรุนแรงถึงช็อคได้ หากเก็บไว้ในที่ร้อนจะทำให้ยาเปลี่ยนไปเป็นสารที่ทำให้แพ้ง่ายขึ้น
ยาปฏิชีวนะมีทั้งคุณและโทษ โรคส่วนใหญ่อาจหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ยานี้ไม่ใช่ยาลดไข้ ไม่ควรใช้โดยไม่จำเป็น อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือเป็นพิษต่อร่างกาย การใช้ยาโดยไม่ถูกวิธีหรือไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะทำให้เป็นโรคเรื้อรังและเชื้อเกิดการดื้อยา เป็นอันตรายต่อสังคมและตนเอง การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ควรซื้อกินเอง ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
ข้อมูลจาก ชฎาพร นุชจังหรีด สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
การกินยาที่ถูกต้อง
การกินยาที่ถูกต้องควรกินอย่างไร ทางราชการมีกฎบังคับว่า ยาที่มีอายุจะต้องมีหมายกำหนดว่าหมดอายุเมื่อไร โดยต้องเขียนไว้ที่ภาชนะบรรจุ แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้เป็นภาษาอังกฤษ วิธีสังเกตยาที่เสื่อมอายุซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้ มักจะเป็นยาที่มีสีเข้ม ๆ สีแปลก ๆ เป็นกระ เป็นจุดด่าง ๆ และถ้าหากเป็นสูตรผสมหลาย ๆ อย่าง ในเม็ดเดียวกัน เป็นยาที่ไม่ควรใช้ เพราะว่าสังเกตการเสื่อมยาก ตัวอย่างยาที่หมดอายุ เช่น ยาเตตร้าไซคลิน สีของยาภายในแคปซูลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองนวลเป็นสีน้ำตาลไหม้ ถ้ากินเข้าไปจะเป็นอันตรายต่อไตโดยตรง บางรายอาจถึงตายได้ ในการกินยานั้น ควรกินตามที่แพทย์สั่ง เพราะยาบางชนิด ถ้ากินตอนท้องว่างอาจมีอาการข้างเคียง เช่น อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากระคายกระเพาะอาหาร หรือยาบางอย่างอาจกัดกร่อนกระเพาะ เช่น แอสไพริน แต่มียาบางชนิด เช่น เพนนิซิลิน แอมพิซิลิน มักจะกินก่อนอาหารที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่าถ้ากินหลังอาหารหรือพร้อมอาหาร ยาจะไปรวมตัวกับอาหาร ทำให้ปริมาณของยาที่จะซึมเข้ากระแสเลือดและไปออกฤทธิ์นั้น ลดลงอย่างมาก
ข้อแนะนำของการกินยาก่อนอาหารนั้น จำเป็นต้องกินยาก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ไม่ใช่กินยาและกินอาหารตามทันที ส่วนยาที่กินหลังอาหารนั้น สามารถกินได้ทันทีเมื่อกินอาหารเสร็จนอกจากเวลาที่กินยาแล้ว ขนาดของยาก็เป็นส่วนสำคัญ การที่กำหนดว่ายาอย่างหนึ่งต้องกินขนาดครั้งละเท่าใดนั้น เขาได้ทดลองยาดังกล่าวมาแล้วว่ายาดังกล่าวใช้เท่าไรจึงจะได้ผลในการรักษา ถ้าใช้ยาได้ถูกกับโรคและขนาดยาที่เขากำหนดนั้น จะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือพิษของยาอย่างรุนแรง ฉะนั้น เราไม่ควรกินยาให้น้อยกว่าหรือมากกว่าขนาดที่เขากำหนดให้ เช่น ยาบางชนิด ให้กินครั้งละ 1 เม็ดวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร ก็ต้องกินเช่นนั้นให้ถูกต้อง บางคนกินน้อยกว่าที่กำหนด เพราะกลัวว่าจะเกิดอันตรายจากยา จะทำให้รักษาไม่ได้ผลและในทางตรงข้าม บางครั้งคนที่ต้องการกินยาให้มาก ๆ ก็จะก่อให้เกิดอันตรายเช่นกัน
วิธีการเลือกซื้อยาที่ถูกต้อง
เราสามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1. การเลือกซื้อยาจากแหล่งที่เชื่อถือได้
แหล่งขายยาที่น่าเชื่อถือได้แก่ร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย หรือจากผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง โดยสามารถสังเกตได้จากป้ายสถานที่ประกอบการด้านยาหรือใบอนุญาตที่แสดงให้เห็นในสถานที่ประกอบการนั้นๆ ในการซื้อยาจากร้านแผงลอยที่ไม่มีใบอนุญาต มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับยาที่ไม่มีคุณภาพยาลักลอบนำเข้าซึ่งไม่อาจรับรองความปลอดภัยผู้ที่บริโภคอาจได้รับสารสเตียรอยด์ซึ่งเป็นสารที่อันตรายผสมอยู่ในยาที่ซื้อมาบริโภคโดยไม่รู้ตัว
แหล่งขายยาที่น่าเชื่อถือได้แก่ร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย หรือจากผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง โดยสามารถสังเกตได้จากป้ายสถานที่ประกอบการด้านยาหรือใบอนุญาตที่แสดงให้เห็นในสถานที่ประกอบการนั้นๆ ในการซื้อยาจากร้านแผงลอยที่ไม่มีใบอนุญาต มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับยาที่ไม่มีคุณภาพยาลักลอบนำเข้าซึ่งไม่อาจรับรองความปลอดภัยผู้ที่บริโภคอาจได้รับสารสเตียรอยด์ซึ่งเป็นสารที่อันตรายผสมอยู่ในยาที่ซื้อมาบริโภคโดยไม่รู้ตัว
2. การดูฉลากและเอกสารกำกับยา
ตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ต้องจัดให้มีฉลาก ตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ ปิดไว้ที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาหรือฉลากและเอกสารกำกับยา โดยแสดงรายละเอียดดังนี้
ตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ต้องจัดให้มีฉลาก ตามที่ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ ปิดไว้ที่ภาชนะและหีบห่อบรรจุยาหรือฉลากและเอกสารกำกับยา โดยแสดงรายละเอียดดังนี้
1. ชื่อยา (ยี่ห้อ)
2. เลขทะเบียนตำรับยา มักจะมีคำว่า Reg.No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา สำหรับเลขทะเบียนยานี้เป็นสิ่ง
บ่งบอกว่ายานั้นได้ขึ้นทะเบียนถูกต้อง ไม่ได้ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ
3. ปริมาณหรือขนาดบรรจุของยา เช่น ยาเม็ด จะต้องแจ้งขนาดบรรจุไว้ในฉลากด้วยว่า ยานั้นบรรจุกี่เม็ด
4. เลขที่ หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ ซึ่งมักใช้คำย่อยเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Lot No., Cont.No.,Batch No. หรือ L , C , L/C , B/C แล้วตามด้วยเลขแสดงครั้งที่ผลิต
5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ยาที่ผลิตในประเทศต้องมีชื่อผู้ผลิตจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยาด้วย ในกรณีเป็นยาที่ผลิตในต่างประเทศนำหรือสั่งเข้ามาต้องมีชื่อเมืองและประเทศที่ตั้งสถานที่ผลิตยาพร้อมทั้งชื่อของผู้นำหรือสั่งเข้ามาและจังหวัดที่ตั้งสถานที่นำ/สั่งยานั้น ๆ
6. วันเดือนปีที่ผลิตยา มักมีคำย่อภาษาอังกฤษ Mfd. หรือ Mfg date. แล้วตามด้วย วันเดือนปีที่ผลิต หากยานั้ผลิตมานานเกิน 5 ปี ก็ไม่ควรนำมารับประทาน ส่วนยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ จะมีการระบุวันที่หมดอายุ โดยมีคำย่อ ว่า Exp.Date ซึ่งย่อมาจาก Expiration Date แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ยานั้นหมดอายุ โดยใช้คำว่า use before
7. คำว่า "ยาอันตราย" "ยาควบคุมพิเศษ" "ยาใช้เฉพาะที่" หรือ "ยาใช้ภายนอก" แล้วแต่กรณี ว่ายานั้นเป็นยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาใช้เฉพาะที่ หรือยาใช้ภายนอก ซึ่งจะเขียนด้วยอักษรสีแดงอ่านได้ชัดเจน
8. วิธีใช้และคำเตือน การจัดให้มีคำเตือนไว้บนฉลากและเอกสารกำกับยานั้น ใช้สำหรับยาที่รัฐมนตรีประกาศ หรือในกรณีที่กฎหมายบังคับ
รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้หลักการเบื้องต้นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ในการซื้อยามารับประทานเอง อย่างไรก็ตามหากพบความผิดปรกติจากการรับประทานยาเอง หรือทานยาแล้วไม่สามาถรักษาอาการที่เกิดขึ้นได้ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
2. เลขทะเบียนตำรับยา มักจะมีคำว่า Reg.No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา สำหรับเลขทะเบียนยานี้เป็นสิ่ง
บ่งบอกว่ายานั้นได้ขึ้นทะเบียนถูกต้อง ไม่ได้ลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ
3. ปริมาณหรือขนาดบรรจุของยา เช่น ยาเม็ด จะต้องแจ้งขนาดบรรจุไว้ในฉลากด้วยว่า ยานั้นบรรจุกี่เม็ด
4. เลขที่ หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิตหรือวิเคราะห์ ซึ่งมักใช้คำย่อยเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Lot No., Cont.No.,Batch No. หรือ L , C , L/C , B/C แล้วตามด้วยเลขแสดงครั้งที่ผลิต
5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ยาที่ผลิตในประเทศต้องมีชื่อผู้ผลิตจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยาด้วย ในกรณีเป็นยาที่ผลิตในต่างประเทศนำหรือสั่งเข้ามาต้องมีชื่อเมืองและประเทศที่ตั้งสถานที่ผลิตยาพร้อมทั้งชื่อของผู้นำหรือสั่งเข้ามาและจังหวัดที่ตั้งสถานที่นำ/สั่งยานั้น ๆ
6. วันเดือนปีที่ผลิตยา มักมีคำย่อภาษาอังกฤษ Mfd. หรือ Mfg date. แล้วตามด้วย วันเดือนปีที่ผลิต หากยานั้ผลิตมานานเกิน 5 ปี ก็ไม่ควรนำมารับประทาน ส่วนยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ จะมีการระบุวันที่หมดอายุ โดยมีคำย่อ ว่า Exp.Date ซึ่งย่อมาจาก Expiration Date แล้วตามด้วยวันเดือนปีที่ยานั้นหมดอายุ โดยใช้คำว่า use before
7. คำว่า "ยาอันตราย" "ยาควบคุมพิเศษ" "ยาใช้เฉพาะที่" หรือ "ยาใช้ภายนอก" แล้วแต่กรณี ว่ายานั้นเป็นยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาใช้เฉพาะที่ หรือยาใช้ภายนอก ซึ่งจะเขียนด้วยอักษรสีแดงอ่านได้ชัดเจน
8. วิธีใช้และคำเตือน การจัดให้มีคำเตือนไว้บนฉลากและเอกสารกำกับยานั้น ใช้สำหรับยาที่รัฐมนตรีประกาศ หรือในกรณีที่กฎหมายบังคับ
รายละเอียดต่างๆ เหล่านี้หลักการเบื้องต้นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ในการซื้อยามารับประทานเอง อย่างไรก็ตามหากพบความผิดปรกติจากการรับประทานยาเอง หรือทานยาแล้วไม่สามาถรักษาอาการที่เกิดขึ้นได้ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
สอบถามเพิ่มเติมที่ร้านขายยา
— ที่ ร้านขายยาบางบอน5เภสัช
ที่มา ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากhttp://guru.sanook.com/3936/เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับยา-%26/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น